สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
น้ำตาล… กับชาเขียว

ขณะที่อุณหภูมิความร้อนบ้านเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันเบาบาง เครื่องดื่มดับกระหายที่มักถูกเลือกและหยิบจับใส่ตะกร้า คงหนีไม่พ้นเครื่องดื่มประเภทอัดก๊าซ และเครื่องดื่มชาเขียวรสชาติต่างๆ ทั้งกลิ่นที่หอมและรสที่หวาน ช่วยให้ชื่นใจ ดับกระหาย คลายร้อน นอกจากชาเขียวจะมีกรดอะมิโน, วิตามิน B, C และ E แล้วชาเขียวยังมีสารสำคัญที่ชื่อว่า อีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate: EGCG) ปริมาณมาก  สารชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ การดื่มชาเขียวยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล  ลดระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ร่างกายรู้สึก กระปรี้กระเปร่าเพราะมีคาเฟอีน แม้ว่าชาเขียวมีประโยชน์หลายด้าน หากดื่มอย่างไม่เหมาะสมอาจก่อผลกระทบต่อร่างกายได้เช่น หากดื่มในปริมาณสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อตับ ตับอาจถูกทำลาย

 

เครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปที่นิยมดื่มในปัจจุบันนั้น มีปริมาณใบชาที่น้อยมากจึงมีสารสำคัญน้อยถ้าจะดื่มเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสาร EGCG อาจต้องดื่มหลายขวดต่อวันแทนที่จะได้ประโยชน์อาจทำให้เกิดโทษจากร่างกายได้รับน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมในปริมาณที่สูงเกินไปองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน ควรน้อยกว่าร้อยละ 10
ของพลังงานทั้งหมด หรือไม่เกิน 200 กิโลแคลอรีต่อวัน เช่น เด็กไม่ควรเกิน 4 ช้อนชา (20 กรัมต่อวัน) ผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 8 ช้อนชา (40 กรัมต่อวัน)

 

วันนี้คอลัมน์ มันมากับอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องดื่มชาเขียวส าเร็จรูป จ านวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณน ้าตาลทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ฟรักโทส, กลูโคส, ซูโครส,มอลโทส และแล็กโทส ที่มีในชาเขียว ผลปรากฏว่าตัวอย่างเครื่องดื่มชาเขียวส าเร็จรูปมีปริมาณน ้าตาล ทั้งหมดอยู่ในช่วง 20.02 – 27.20 กรัม ต่อชาเขียว 1 ขวด เห็นผลวิเคราะห์กันอย่างนี้แล้ว ขอแนะว่า ไม่ควรดื่มชาเขียวส าเร็จรูปบ่อยจนเกินไป ดื่มเพื่อดับกระหายเพียง 1 ขวดต่อวันก็พอและไม่ควรดื่มติดต่อกันทุกวัน เพราะแทนที่ร่างกายจะได้ประโยชน์อาจกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสารพัดโรค เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน และฟันผุได้///

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins