สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สารกันบูดในผลไม้ดอง

สารกันบูดในผลไม้ดอง

           การหมักดอง เป็นการถนอมอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการทำไม่ยุ่งยาก เพียงนำผัก ผลไม้ ไข่ เนื้อสัตว์มาหมักในน้ำเกลือและเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ใช้เวลาหมักดองสองสัปดาห์สามารถนำมารับประทานได้

           อาหารหมักดองที่มีเกลือเป็นส่วนผสมหลัก ส่งผลทำให้มีปริมาณโซเดียมสูง ยิ่งถ้าผู้ผลิตใส่สารกันบูด เช่น โซเดียมเบนโซเอต โซเดียมซอร์เบต เพื่อป้องกันอาหารหมักดองไม่ให้เสื่อมเสีย ทำให้เก็บรักษานานขึ้น ยิ่งทำให้อาหารหมักดองมีปริมาณโซเดียมสูง

            เมื่อร่างกายเราได้รับโซเดียมปริมาณมากๆบ่อยครั้ง จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ ทำให้ร่างกายบวมฉุ การทานอาหารที่มีสารกันบูดปริมาณมากๆ เกิดการสะสมในร่างกาย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง

             สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างผลไม้ดอง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล นำมาวิเคราะห์สารกันบูด ทั้งกรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก ผลวิเคราะห์ปรากฏว่า ไม่พบกรดซอร์บิก ในผลไม้ดองทุกตัวอย่าง แต่พบกรดเบนโซอิก ในผลไม้ดองทั้ง 5 ตัวอย่าง และมี 1 ตัวอย่างที่พบในปริมาณเกินค่ามาตรฐาน ที่กระทรวงสาธารณสุขไทยกำหนด ต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

              ท่านที่ชื่นชอบผลไม้ดอง ขอแนะว่าให้ทานแต่พอหายอยาก และควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อความปลอดภัยของร่างกายในระยะยาว.

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins