ตารางฝึกอบรมสถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
การประยุกต์ใช้ Hydrocolloid (สำหรับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ และวุ้น แยม และขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว และซอส เครื่องดื่ม นม และเบเกอรี่ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล อิมัลชั่น และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ)
รายละเอียดที่ท่านเลือก
วันที่ : 5 พ.ค. 65
ถึงวันที่ : 6 พ.ค. 65
สถานที่ : เรียนออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom
ราคาสมาชิก : 5,000
ราคาบุคคลทั่วไป : 5,300
จำนวนวัน : 2 วัน
รายละเอียด :

 

 

หลักการและเหตุผล 
   ไฮโดรคอลลอยด์ เป็นสารประกอบพอลิเมอร์ที่ชอบน้ำ (hydrophilic) มีโมเลกุลขนาดใหญ่เป็นสายยาว เมื่อกระจายตัวในน้ำจะอยู่ในรูปคอลลอยด์  ไฮโดรคอลลอยด์อาจได้มาจากพืช เช่น pectin, carrageenan, agar, alginate, gum arabic, guar gum, locust bean gum และ starch จากสัตว์ เช่น gelatin และ chitosanจากจุลินทรีย์ เช่น xanthan gum และ gellan gum หรือจากการสังเคราะห์ เช่น modified starch, carboxymethylcellulose (CMC) และ hydroxypropylmethylcellulose (HPMC)
   ไฮโดรคอลลอยด์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในอาหารเป็นพวกพอลิแซคคาไรด์และโปรตีน โดยจะทำหน้าที่สำคัญในอาหาร เช่น เป็นสารให้ความหนืด (thickeners) สารทำให้เกิดเจล (gelling agents)  สารช่วยให้น้ำกับน้ำมันเข้ากัน (emulsifiers)  สารที่ทำให้เกิดความคงตัว(stabilzers) สารป้องกันการตกตะกอนหรือช่วยการแขวนลอย  (suspending agents) สารช่วยการยึดเกาะ  (adhesives)  สารเคลือบผิว (glazing agents) สารทำให้เกิดฟิล์ม (film-forming agents)  สารทดแทนไขมันและแป้ง (fat and starch replacers) สารช่วยอุ้มน้ำหรือความชื้น (water-retention agents)    สารลดการแยกตัวของน้ำออกจากเนื้ออาหาร (syneresis reducers)  สารหล่อลื่น (lubricants)  สารทำให้ใส (clarifying agents)  สารเพิ่มมวล (bulking agents)   สารใยอาหาร (dietary fiber) เป็นต้น
   การใช้ประโยชน์ของไฮโดรคอลลอยด์จะแตกต่างกันไปตามโครงสร้างและคุณสมบัติ เฉพาะตัวของไฮโดรคอลลอยด์แต่ละชนิด และยังขึ้นอยู่กับระบบของผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละประเภทด้วย

 

วัตถุประสงค์
   เพื่อให้ทราบถึงการแบ่งประเภท โครงสร้าง คุณสมบัติเบื้องต้น และการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารของไฮโดรคอลลอยด์ชนิดต่างๆ    

 

วิทยากร
  
1. ผศ.ดร.ประสงค์ ศิริวงศ์วิไลชาติ
  2. ผศ.ดร.สุเชษฐ์ สมุหเสนีโต
  3. ผศ.ดร.ปริญดา เพ็ญโรจน์
  4. ผศ.ดร.ดวงใจ ถิรธรรมถาวร 

  จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยากรประจำสถาบันอาหาร

 

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
   
พนักงานฝ่ายผลิต, พนักงานฝ่าย QA/QC, พนักงานฝ่าย R&D, นักวิชาการ และบุคคลทั่วไป

 

ระยะเวลาในการอบรม
    วันพฤหัสบดีที่  5 - วันศุกร์ที่  6  พฤษภาคม  2565 (2 วัน)
     เวลา 09.00-16.00 น.

 

รูปแบบการอบรม

Online >> เรียน Online ผ่านระบบ Zoom
   - อยู่ที่ไหน ก็สามารถเรียนได้
 - สามารถถาม-ตอบข้อสงสัยได้ทันที
 - ให้บรรยากาศเหมือนเรียนในห้องปกติ
 - เรียนครบ จบรับ Certificate (E-file)

 

กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่  5  พฤษภาคม  2565

08.30 – 09.00 น.

ผู้อบรมเข้าระบบ Zoom

09.00 – 10.30 น.

การแบ่งประเภท โครงสร้าง และคุณสมบัติเบื้องต้นของ Hydrocolloids
โดย ผศ.ดร.ปริญดา  เพ็ญโรจน์

10.30 – 10.45 น.

พัก 15 นาที

10.45 – 12.00 น. 

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์เยลลี่และวุ้น
โดย ผศ.ดร.ปริญดา  เพ็ญโรจน์

12.00 - 13.00 น.

พักกลางวัน

13.00 – 14.30 น.

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารทะเล
โดย ผศ.ดร.สุเชษฐ์  สมุหเสนีโต

14.30 – 14.45 น.

พัก 15 นาที

14.45 – 16.00 น.

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ (เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมไทย อาหารผง และ encapsulated flavors)
โดย ผศ.ดร.สุเชษฐ์  สมุหเสนีโต

 

วันศุกร์ที่  6  พฤษภาคม  2565

08.30 - 09.00 น.

ผู้อบรมเข้าระบบ Zoom

09.00 – 10.30 น.

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์แยมและขนมหวาน (confectionery)
โดย ผศ.ดร.ประสงค์  ศิริวงศ์วิไลชาติ

10.30 – 10.45 น.

พัก 15 นาที

10.45 – 12.00 น. 

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว (snacks) และ ซอส
โดย ผศ.ดร.ดวงใจ  ถิรธรรมถาวร

12.00 - 13.00 น.

พักกลางวัน

13.00 – 14.30 น.

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม นม และ เบเกอรี่
โดย ผศ.ดร.ประสงค์  ศิริวงศ์วิไลชาติ

14.30 – 14.45 น.

พัก 15 นาที

14.45 – 16.00 น.

การประยุกต์ใช้ Hydrocolloids ในผลิตภัณฑ์อิมัลชั่น
โดย ผศ.ดร.ประสงค์  ศิริวงศ์วิไลชาติ

16.00 – 16.30 น.

ตอบข้อซักถามและปิดการอบรม

หมายเหตุ  กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

ค่าลงทะเบียน (ยังไม่รวม VAT 7%) (ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%)
   สมาชิก NFI 5,000 บาท 
   บุคคลทั่วไป 5,300 บาท 

   (ราคารวม VAT 7% สมาชิก NFI 5,350 บาท / บุคคลทั่วไป 5,671 บาท)

 

วิธีการชำระเงิน

   โอนเงินเข้าบัญชี ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
   สาขาพระปิ่นเกล้า     

   เลขที่ 031-1-52938-0   
   ชื่อบัญชี อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
   ประเภทบัญชี ออมทรัพย์                                                  

 

ขั้นตอนการลงทะเบียน
1. หลังจากลงทะเบียนแล้ว ทาง จนท. จะส่ง E-mail ยืนยันการเข้าร่วมอบรมไปยังท่านก่อนการอบรม 1-2 อาทิตย์
2. การชำระเงิน ท่านสามารถชำระเงินพร้อมส่งหลักฐานการชำระเงิน มายังฝ่ายฝึกอบรมฯ ได้ที่ training@nfi.or.th หรือ Line@ : https://bit.ly/393y0Xe
3. หลังจากท่านชำระเงินแล้ว 
>> ทาง จนท. จะส่ง link สำหรับเข้า Zoom ไปยังท่าน และใบเสร็จรับเงิน จะส่งให้ทางไปรษณีย์ทาง จนท. จะส่ง link สำหรับเข้า Zoom ไปยังท่าน และใบเสร็จรับเงินจะส่งให้ทางไปรษณีย์

 

สนใจติดต่อ 
   คุณธราธิป  แววศรี
   ฝ่ายฝึกอบรมและที่ปรึกษา สถาบันอาหาร
   โทร. 0-2422-8688 ต่อ 2207
   E-mail : training@nfi.or.th
   Facebook : www.facebook.com/trainingNFI
   Line@ : https://bit.ly/393y0Xe

 

แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins