• เชื้อก่อโรคในจิ้งหรีดทอด

    องค์การสหประชาชาติรายงานว่าในปี ค.. 2050 หรือพ.ศ. 2593 ประชากรโลกจะเพิ่มสูงถึง 9.7 พันล้านคน อีกทั้งพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ใช้ปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์เพื่อผลิตเป็นอาหารอาจลดน้อยลงจากผลของ ภาวะโลกร้อน  ทำให้แมลง หรืออาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนใหม่ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะแมลงมีโปรตีนสูงโดยเฉพาะ “จิ้งหรีด” ที่ได้รับความนิยมมากในตลาดโลก ทั้งแบบแมลงทั้งตัว หรือแปรรูปเป็นแมลงผง โปรตีนเชค โปรตีนบาร์ เครื่องดื่ม ลูกอม  ทว่า จิ้งหรีดที่จะนำไปแปรรูปนั้น ควรเป็นจิ้งหรีดที่เลี้ยงจากฟาร์มที่มีระบบมาตรฐาน GAP หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์ม

  • สีผสมอาหารกับผักกาดดอง

    กรรมวิธีการถนอมอาหาร ทั้งพืชผัก ผลไม้ให้เก็บไว้ทานได้นานๆ มักจะหนีไม่พ้นการหมักดอง ที่จะทำให้ได้รสชาติเปรี้ยวๆ หรือเค็ม ถ้าเป็นผลไม้ดองจะนิยมทานกับพริกเกลือเปรี้ยวๆ เค็มๆ แก้วิงเวียน และคลื่นไส้เป็นอย่างดี ส่วนถ้าเป็นผักดองจะนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ส่วนใหญ่ผักที่นิยมนำมาดองคือ ผักกาดเขียวเพราะตัวผักมีรสขม ก้านใบมีเนื้อแน่นเมื่อนำมาดองจะไม่เปื่อยยุ่ยง่าย ส่วนผสมในการดองมีหลายสูตรมีทั้งน้ำ เกลือ น้ำตาล น้ำซาวข้าว น้ำส้มสายชู 

  • เชื้อก่อโรคในปิ้งย่างหม่าล่า

    ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา อาหารปิ้งย่างเสียบไม้ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิ้งย่างหม่าล่า ที่มีทั้งเนื้อสัตว์ ผักและเห็ดชนิดต่างๆ ราคาขายเริ่มตั้งแต่ 5 บาทต่อไม้ขึ้นไป ถูกแพงแล้วแต่ลูกค้าจะเลือก เลือกเสร็จ แม่ค้าจะนำมาทาซอสสูตรเฉพาะของร้าน แล้วปิ้งบนเตา เมื่อสุกได้ที่จะโรยผงหม่าล่า ที่มีระดับความเผ็ดตั้งแต่เผ็ดน้อยถึงเผ็ดมาก เอร็ดอร่อยกันไป  ขณะซื้อหากสังเกตุกันสักนิดจะเห็นว่าเนื้อสัตว์เสียบไม้ก่อนนำมาปิ้งจะเป็นเนื้อดิบ 100%  ต้องใช้ความร้อนและเวลานานพอสมควรเนื้อจึงจะสุก บางร้านใช้เวลาปิ้งกันไม่นาน  เพราะขายดีมีลูกค้าต่อคิวรอเยอะมาก หากลูกค้ารอนานจะพาลไม่ซื้อทาน คนขายอาจปิ้งแบบเกือบสุกหรือสุกกลางๆ

  • เชื้อก่อโรคในหน่อไม้ปี๊บ

    หน่อไม้ปี๊บหรือหน่อไม้ต้มอัดปี๊บ  นับเป็นอาหารที่ชาวไทยนำมาปรุงได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะที่ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือใช้ตำ เช่น ใส่ผสมในส้มตำ ซุปหน่อไม้  ทว่าสิ่งหนึ่งที่ขอเตือนอีกครั้งสำหรับ ท่านที่ชื่นชอบหน่อไม้ปี๊บ คือ  อันตรายที่อาจเกิดจากเชื้อก่อโรค คลอสทริเดียม โบทูลินัม  ปนเปื้อน เชื้อชนิดนี้พบทั่วไปในธรรมชาติ  พืชผักที่ปลูกในดิน  และมักพบปนเปื้อนในอาหารที่ผ่านการให้ความร้อนไม่เพียงพอและมีการบรรจุที่ไม่ได้มาตรฐาน

  • ไขมันทรานส์กับคุกกี้

    คุกกี้ ขนมหวานอีกชนิดที่มักถูกเลือกลำดับแรกๆ ให้เป็นของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ คุกกี้ มีส่วนประกอบหลักๆ คือ แป้ง เนย มาการีน น้ำตาลทราย นมผง ไข่ไก่ ผงฟู แล้วแต่สูตรใครก็สูตรใคร แม้คุกกี้ จะเป็นขนมที่ทั้งหวาน มัน หอม อร่อย ถูกปากใครหลายคน แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อันตรายจาก ไขมันทรานส์  ไขมันชนิดนี้พบได้ทั้งในธรรมชาติเช่น เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์จากนม แต่มีในปริมาณน้อยและไขมันทรานส์ ที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงไปในน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง

  • โอคราทอกซิน เอ ในกาแฟคั่วบด

    ช่วงฤดูหนาวของเมืองไทยที่อากาศเย็นสบายเช่นนี้ คอกาแฟต่างคลายหนาวด้วยกาแฟร้อนๆ สักแก้ว ที่มีกลิ่นหอมกรุ่น รสชาติกลมกล่อม ดื่มแล้วช่วยคลายหนาวและยังทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา กาแฟที่ขายในปัจจุบันมีทั้งเมล็ดกาแฟคั่ว กาแฟคั่วบด กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟดริป, กาแฟ 3 in 1 กาแฟกระป๋องและกาแฟสกัดเย็น(Cold Brew)  การซื้อกาแฟนอกจากเลือกตามชนิดและรสชาติที่ชอบแล้ว ควรเลือกซื้อให้ปลอดภัยจากสารพิษที่เป็นอันตรายเช่น สารพิษจากเชื้อราที่ชื่อ โอคราทอกซิน เอ ด้วย

  • เชื้อก่อโรคในลาบเลือดหมู

    ก้อยดิบ ลาบเลือดหมู หลู้ดิบ เมนูอาหารพื้นถิ่นของอีสานและล้านนา วิธีการปรุง เป็นการคลุกเคล้าเนื้อสัตว์สับกับเครื่องปรุงรสเผ็ดนัว ขม เปรี้ยว และเครื่องเทศสมุนไพร ได้เป็นอาหารรสแซ่บ  เป็นที่ชื่นชอบของคนไทยภาคอีสานและเหนือ ทว่าเมนูลาบเลือด เป็นเมนูที่ทานดิบๆ เมื่อทานเข้าสู่ร่างกายอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษได้

  • เชื้อก่อโรคในเอแคลร์

    ช่วงนี้ฝนตกแทบทุกวัน และมักเป็นช่วงเช้าหรือเย็นที่มีผลต่อการเดินทางของคนในเมืองหลวง เด็กๆ ต้องใช้ชีวิตบนรถทั้งระหว่างเดินทางไปโรงเรียนและเดินทางกลับบ้าน พ่อแม่ จึงต้องเตรียมพร้อมอาหารทั้งคาวและหวาน ไว้เสมอสำหรับเด็กๆ ไว้ทานบนรถ ซึ่งต้องเป็นอาหารที่ทานง่าย ฉีกซอง เปิดกล่อง เปิดถุงแล้วทานได้ทันที และต้องอิ่มท้อง ขนมที่พ่อแม่มักซื้อติดรถไว้คงหนีไม่พ้น เบเกอรี่หลากหลายชนิด รวมถึงเอแคลร์ 

  • โซเดียมในทุเรียนทอด

     ทุเรียน เป็นผลไม้ที่ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ชาวสวนในหลายพื้นที่ ด้วยกลิ่น และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ทุเรียนมีหลายสายพันธุ์แล้วแต่คนชอบที่จะเลือกทาน สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและราคาไม่สูงมากคือ พันธุ์หมอนทอง ทานห่ามกรุบกรอบกำลังดี หรือจะทานสุกเนื้อนุ่มๆ ก็ได้รสชาติเหมือนกัน ปัจจุบันชาวสวนหันมาแปรรูปทุเรียนกันมากขึ้น

  • เชื้อก่อโรคในแหนมเห็ด

    แหนมเห็ด อาหารทางเลือกสำหรับผู้ชื่นชอบอาหารแนวพืชผักหมัก  ที่มีขั้นตอนการทำคล้ายๆ กับแหนมที่ทำจากเนื้อหมู  คือ นำเห็ดมาล้างทำความสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปนึ่งสุก เมื่อได้ที่ ก็ใส่กระเทียม เกลือ ข้าวสุกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ห่อด้วยใบตอง หรือถุงพลาสติกมัดให้แน่น ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง  3-4 วัน เห็ดจะมีรสเปรี้ยวกำลังดีและมีความหอมจากกระเทียม  นิยมทานกันสดๆ โดยไม่นำไปทำให้สุกเพราะจะทำเสียเสียกลิ่นและรสชาติที่ได้จากการหมัก กระนั้นก็ไม่ควรชะล่าใจ                                                                          

     
Page: 1 of 66 page(s)