• สารฟอกขาวในถั่วงอกสด

    ถั่วงอก เป็นผักที่เกิดจากต้นถั่วที่มีรากงอกมาจากเมล็ดถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วลันเตาและถั่วเหลือง คนไทยมักนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารหลากหลายชนิดหรือทานเป็นเครื่องเคียงทั้งแบบสุกและดิบ ถั่วงอกมีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์  หากทานแบบสุกและทานขณะร้อนอาจไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าทานแบบดิบนอกจากจะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคนานาชนิดแล้ว อาจเสี่ยงต่ออันตรายจากการตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซด์อีกด้วย 

  • เชื้อก่อโรคในปลาร้าดิบ

    ปลาร้าเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยภาคอีสาน กรรมวิธีการทำนั้นไม่ยุ่งยาก เพียงนำปลาที่เหลือจากการบริโภคสดนำมาทำความสะอาด ขอดเกล็ด ตัดหัว ควักไส้ ล้างน้ำให้สะอาดและหมดคาว แล้วนำปลาไปเคล้ากับเกลือจนความเค็มซึมซาบเข้าในเนื้อปลา หมักทิ้งไว้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท ที่กันแมลงวันหรือสิ่งแปลกปลอมเป็นเวลา 4-5 เดือน หรือเป็นปีๆ ก็จะได้ปลาร้าที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี ปลาร้าที่เราเห็นทั่วไปมีอยู่  2 ชนิดได้แก่ ปลาร้ารำข้าวและปลาร้าข้าวคั่ว ปัจจุบันมีการผลิตปล้าร้าเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ซึ่งจะมีระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร 

  • อาหารริมบาทวิถี ยุค COVID-19

    แม้ว่าช่วงต้นเดือน กรกฎาคม 2563 ในไทยไม่มีรายงานการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือเป็น “0” กว่า 40 วันติดต่อกันแล้ว   และรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5  โดยอนุญาตให้เปิดกิจการและกิจกรรมต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงการเปิดเทอมให้เด็กๆ ไปโรงเรียน ทว่า เราก็ไม่ควรประมาท ไปไหนมาไหนควรสวมหน้ากาก  เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เรื่องของอาหารการกินก็เช่นกัน

  • รถเร่ปลอดภัย…. ต้านภัย COVID-19

    วิกฤติโรคระบาดจากเชื้อ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกรวมถึงเมืองไทย นอกจากจะทำให้อาหารเดลิเวอร์รี่กลายเป็นสิ่งจำเป็นและผู้บริโภคมีความต้องการสูงแล้ว รถเร่หรือรถพุ่มพวง ก็กลายเป็นตลาดสดเคลื่อนที่ที่ผู้บริโภคมีความต้องการสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงอาหารสดและแห้งเช่น ผักผลไม้สด เนื้อสัตว์สด อาหารทะเลสด อาหารแห้ง พริกแกง เครื่องแกงและอาหารแปรรูป ได้สะดวก ไม่ต้องออกมาจับจ่ายซื้ออาหารในตลาดหรือซูเปอร์มาเก็ตนอกบ้านและสอดรับกับการขอความร่วมมือจากรัฐบาลให้ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ อีกด้วย 

  • กันไว้ดีกว่าแก้.... COVID-19

    วันนี้ประเทศไทยและทั่วโลกต่างเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีต้นตอเริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ต่อมาระบาดลามไปอีกหลายเมืองในจีนจนลุกลามไปทั่วโลก ไวรัสชนิดนี้สามารถระบาดจากคนสู่คนได้เหมือนไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ นั่นคือ ผ่านการไอ จามที่มีละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะ

  • ฟอร์มาลดีไฮด์กับ “กุ้งสด”

    ยุคนี้รูปแบบการทานอาหารของคนเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ชื่นชอบและเลียนแบบการกินจากโซเชียล เห็นได้จากหลายเพจที่ลงเรื่องราวและรีวิวเกี่ยวกับอาหารการกินทั้งร้านอาหารและเมนูแนะนำให้คนติดตาม เมนูที่ชื่นชอบของคนไทยคงหนีไม่พ้นอาหารรสจัดเช่น ส้มตำ ยำ ลาบ โดยเฉพาะที่ทำจากอาหารทะเลสดๆ ทั้งจากปูสด กุ้งสด หมึกสด หอยแครง หอยแมลงภู่และปลา อาหารทะเลที่สดเมื่อนำมาปรุงอาหารจะได้รสหวาน เนื้อสัมผัสหยุ่นๆ ไม่ยุ่ยและไม่มีกลิ่นคาว 

  • สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง

    ซอสถั่วเหลืองหรือซีอิ้ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีนของถั่วเหลืองหรือส่วนผสมของถั่วเหลืองและแป้งข้าวสาลีโดยการหมัก หรือการย่อยด้วยสารเคมีแล้วนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ระดับพาสเจอไรซ์แล้วบรรจุลงขวด ซอสถั่วเหลืองส่วนใหญ่ผลิตได้จาก 2 กระบวนการคือ ซอสถั่วเหลืองที่ผลิตโดยวิธีการหมักด้วยจุลินทรีย์แบบดังเดิม ซอสชนิดนี้จะมีรสชาติดี  ส่วนอีกวิธีเป็นซอสถั่วเหลืองที่ผลิตโดยวิธีการย่อยสลายโปรตีนของถั่วเหลือง                                       

  • กรดไขมันทรานส์ในขนมปังเนยสด

    ต้นปี 2562 บ้านเราเริ่มบังคับใช้กฎหมายห้ามผลิต นำเข้า จำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เพราะน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนนั้นจะมีกรดไขมันทรานส์อยู่ด้วย เมื่อผู้ผลิตนำน้ำมันดังกล่าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เช่น มาการีน เนยเทียม เนยขาว จะส่งผลให้อาหารที่ใช้มาการีน เนยเทียม เนยขาวเหล่านี้เป็นส่วนประกอบมีกรดไขมันทรานส์อยู่ด้วยได้ 

  • ไนไทรต์กับไส้กรอกแดง

    มันมากับอาหารในสัปดาห์นี้ ขอนำเสนอเรื่องใกล้ตัวของเด็กๆ ที่เลือกซื้ออาหารว่างทานเอง ทั้งจากร้านหน้าโรงเรียน  รถเข็นริมทาง ตลาดสด หรือตามสถานที่ขายอาหารต่างๆ ที่เรามักเห็นมีลูกชิ้นและไส้กรอกสีแดงหลากหลายชนิดทอดหรือเสียบไม้ปิ้ง ส่งกลิ่นหอมและสีสันชวนทาน แต่เด็กๆ อาจหารู้ไม่ว่าสีสันที่ชวนทานนั้นอาจแฝงด้วยอันตรายของวัตถุเจือปนอาหาร เช่น ไนไทรต์

  • ส่งอาหารปลอดภัย…. ต้านภัย COVID-19

    วิกฤติโรคระบาดจากเชื้อโควิด -19  กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกรวมถึงไทย สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้การสั่งอาหารเดลิเวอร์รี่มาทานที่บ้าน กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไทยหลายคน โดยเฉพาะคนเมืองที่มักฝากท้องไว้กับร้านอาหารนอกบ้าน หรือคนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน วันนี้ สถาบันอาหารมี แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยง COVID-19 สำหรับการจัดบริการอาหารแบบเดลิเวอรี่ (Delivery)”  

Page: 1 of 68 page(s)