• ส่งท้ายปี 2561 กับการเลือกทานอาหารอย่างปลอดภัย

    ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2561 คอลัมน์มันมากับอาหารได้ลงเผยแพร่ บทความที่แสดงผลการวิเคราะห์สารเคมี  สารพิษ  เชื้อก่อโรค ที่ตกค้างและปนเปื้อนในอาหาร รวมถึงผลวิเคราะห์สารอาหารชนิดต่างๆ ในตัวอย่างอาหารที่สถาบันอาหารสุ่มเก็บจากร้านค้าในตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า หาบเร่  แผงลอยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กว่า 46 ชนิดผลการวิเคราะห์ที่ได้มีทั้ง ตรวจไม่พบสารเคมีหรือสารพิษตกค้าง  หรือไม่พบเชื้อก่อโรคปนเปื้อน  หรือพบแต่ยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  หรือพบเกินเกณฑ์มาตรฐานของประกาศกระทรวงสาธารณสุขไทย หรือเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2561 นี้ คอลัมน์มันมากับอาหาร ขอส่งท้ายปีเก่าด้วยการนำเสนอ

  • ฟอร์มาลดีไฮด์กับ “สามสิบกลีบ”

    เครื่องในวัว นับเป็นเครื่องในสัตว์ที่นิยมนำมาประกอบอาหารกันมากในบรรดาเครื่องในสัตว์ทั้งหมด โดยมีรสชาติและลักษณะที่ต่างกัน เช่น ผ้าขี้ริ้วหรือสไบนาง ขอบกระด้ง รังผึ้ง สามสิบกลีบ ทุกอย่างที่เรียกกันมาข้างต้นนั้น มันคือกระเพาะของวัวนั่นเอง กระเพาะวัวมีหลายส่วนโดยแต่ละส่วนทำหน้าที่ต่างกัน  เครื่องในวัวนับเป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการทำอาหารหลากหลายชนิด  โดยเฉพาะอาหารทางภาคอีสานทั้งลาบ ก้อย ยำ หรือจิ้มจุ่ม ปกติเครื่องในสัตว์หากไม่สดจะเก็บรักษาได้ไม่นาน บางชิ้นส่วนหากเก็บไว้นานอาจมีสีคล้ำไม่น่าทาน ทำให้อาจมีพ่อค้า แม่ค้าบางรายใช้สารเคมีมาเป็นตัวช่วยให้เก็บรักษาไว้ขายได้นานขึ้น

  • เชื้อก่อโรคกับ… กุ้งจ่อม
    ทุกวันนี้ ชีวิตในเมืองมีแต่ความเร่งรีบ รีบทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าจนถึงเข้านอนตอนค่ำ ยิ่งเรื่องอาหารการกินในตอนเช้า  มีเวลาแค่เพียงหยิบอะไรใส่ปากจากที่บ้าน หรือหาซื้ออาหารริมทางระหว่างไปทำงานทานให้พอได้อิ่มท้องเท่านั้น  ต่างจากวิถีชีวิตคนต่างจังหวัด ตื่นนอนแล้วยังมีเวลาปรุง หุงหาอาหารเช้าทานที่บ้าน และได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์จากท้องไร่ ท้องนา วันหยุดก็จับปลา หรือเก็บผักสดมาปรุงอาหาร  หากทานไม่หมดยังนำมาแปรรูปให้เก็บรักษาได้นานขึ้น   กุ้งจ่อม ปลาจ่อม  อาหารอีสานอีกหนึ่งเมนูที่ผ่านการแปรรูปด้วยการหมัก 
  • ยาปฏิชีวนะตกค้างกับ... สเต็กไก่

    สเต็ก เมนูอาหารฝรั่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยมานาน มีทั้งสเต็กหมู  เนื้อ ไก่ และปลา  ทำให้เป็นอีกเมนูที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีให้แก่ผู้บริโภคอย่างเราๆ ทุกวันนี้เราจึงเห็นมีร้านสเต๊กขายกันดาษดื่นตามริมถนน ตลาดสด ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ  ตีคู่มากับร้านขายอาหารไทย เช่น ร้านส้มตำ ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ต้มเลือดหมู ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ร้านสเต็กแบบไทยๆ จะเสริฟสเต็กคู่กับมันฝรั่งทอด ไส้กรอก ขนมปังปิ้ง สลัดผัก ผักต้ม ขึ้นอยู่กับว่าคนทานมีรสนิยมชอบทานคู่กับอะไร ทว่า วันนี้ท่านที่ชอบทานสเต็กอาจต้องระวังไว้บ้าง  เพราะอาจเป็นไปได้ว่า สเต็กที่ท่านทานอยู่นั้นอาจมีสารปฏิชีวนะตกค้างได้ 

  • อะฟลาท็อกซินกับหม่าล่า

    อาหารปิ้งย่างนับเป็นอีกเมนูยอดนิยมของคนไทย และช่วง 2-3 ปีมานี้ คนไทยนิยมทานอาหารปิ้งย่างที่ใช้หม่าล่า ทาบนเนื้อสัตว์หรือผักก่อนปิ้งย่าง เพราะต้องการให้เกิดรสชาติเผ็ดชาที่ปลายลิ้น หม่าล่า เป็นเครื่องเทศสัญชาติจีนที่มีมานานในอาหารของคนเสฉวนและยูนนาน “หม่าล่า”มาจากคำว่า “หม่า” แปลว่า ชา กับคำว่า “ล่า”แปลว่า เผ็ด เมื่อรวมกันหมายถึง รสชาติเผ็ดและชาในคราวเดียวกัน หม่าล่า เป็นเครื่องเทศที่นอกจากจะให้กลิ่นหอมแล้วยังให้รสชาติชาที่ปลายลิ้น เมื่อนำมาผสมกับพริก จะทำให้รสชาติอาหารเผ็ดและชาที่ปลายลิ้นมากยิ่งขึ้น

  • ยาฆ่าแมลงในส้มสายน้ำผึ้ง

    ส้ม ผลไม้สีสวย รสชาติดี มีกลิ่นหอม อุดมด้วยวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิด แถมยังมีใยอาหารช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ส้มที่คนไทยนิยมทานนั้นมีหลายสายพันธุ์ พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ พันธุ์สายน้ำผึ้ง อาจเพราะมีรสชาติที่ดีกว่า หรือถูกปากคนไทยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งมีเนื้อแน่น สีสัน สวยงาม น้ำเยอะ รสหวานอมเปรี้ยว ปอกเปลือกง่าย  ส้มสายน้ำผึ้งมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ ปัจจุบันเริ่มกระจายพื้นที่เพาะปลูกมายังภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ  หลายท่านอาจเคยได้ยินข่าว ในช่วงปี 2560 จากการสุ่มสำรวจตลาดค้าส่งในไทยพบว่า ส้ม เป็นผลไม้ที่ตรวจพบสารพิษตกค้าง

  • ฮีสตามีนกับทูน่าซาซิมิ
    ซาซิมิ อาหารสัญชาติญี่ปุ่นที่ถูกพัฒนาจากอาหารญี่ปุ่นชื่อว่า “นามะสึ” ที่นำปลาดิบมาสับให้ละเอียด ทานคู่กับน้ำส้มสายชูที่ผสมวาซาบิ และน้ำส้มสายชูผสมขิง ต่อมา เมื่อโชยุได้ถือกำเนิดขึ้น ชาวญี่ปุ่นก็เริ่มทานซาซิมิกับโชยุ โดยเปลี่ยนจากสับปลาดิบให้ละเอียดมาเป็นหั่นปลาดิบให้เป็นชิ้นบาง จัดวางไว้บนหัวผักกาดที่หั่นฝอย และโรยหน้าด้วยใบชิโซะ ซาซิมิส่วนใหญ่ทำจากอาหารทะเล มากุโร่ หรือ ทูน่า นับเป็นอาหารทะเลอีกชนิดที่นิยมนำมาทำเป็นเมนูซาซิมิ ทว่า วันนี้ขอเตือนให้ระวัง เพราะเมนูซาซิมิทูน่าที่อร่อยลิ้นนั้นอาจมีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วยได้ อันตรายที่ว่า คือ สารฮิสตามีน 
     
  • น้ำตาลกับขนมไทยๆ

    ขนมไทย ถูกกล่าวถึงอย่างมากในช่วงที่ช่องน้อยสีมีการออกอากาศละครย้อนยุค ที่ถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ยุคที่มีการค้าขายอย่างเสรีกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวโปรตุเกสที่เข้ามารับใช้ถวายงานในพระราชสำนักหนึ่งในนั้นคือ ท้าวทองกีบม้า ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์ให้เป็นต้นเครื่องของหวานและเป็นต้นกำเนิดของขนมหวานไทยหลายชนิด โดยเฉพาะขนมตระกูลทองๆ และขนมหม้อแกงที่ใช้วัตถุดิบหลักได้แก่ ไข่ น้ำตาล   

  • ดีเดย์! ต้นปี 2562 อวสานไขมันทรานส์
    เดือนมกราคม 2562 นอกจากจะเป็นเดือนแรกของศักราชใหม่แล้ว ยังเป็นเดือนแรกที่มีผลบังคับใช้  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดอาหาที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย ที่กำหนดให้ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ  นั่นหมายถึงว่าตั้งแต่  9 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
  • ระวัง! กรดไขมันทรานส์

    วันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) หลายท่านคงได้รับข่าวสารจากสื่อแขนงต่างๆ  แล้วว่ากระทรวงสาธารณสุขไทยได้ออกประกาศฯ เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยกำหนดให้ ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด  180 วัน นับตั้งแต่วันประกาศ

Page: 1 of 66 page(s)