• เชื้อก่อโรคในขนมจีน

    กล่าวถึง ขนมจีน บ้านเรามีการผลิตและขายอยู่ 2 ชนิด คือ ขนมจีนแป้งหมักและขนมจีนแป้งสด มีลักษณะที่แตกต่างกันสิ้นเชิงทั้งรูปและกลิ่น ขนมจีนแป้งหมักจะมีสีคล้ำๆ เส้นเหนียว มีกลิ่นหมักที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับขนมจีนแป้งสดเส้นจะมีสีขาวนวล อุ้มน้ำมากกว่า เส้นจะขาดง่ายเมื่อนำมาทานคู่กับน้ำยาหรือแกงชนิดต่างๆ จะเกิดการผสมผสานกันอย่างลงตัว น้ำยาร้อนๆ น้ำพริกร้อนๆ แกงร้อนๆ ทานแกล้มกับผักสดๆ อร่อยลิ้นอย่าบอกใคร ทว่า สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ บางครั้งทานขนมจีนแล้วทำไมท้องเสีย สาเหตุอาจมาจากทั้ง น้ำยาหรือแกง หรือผักสด หรือเส้นขนมจีน ที่ไม่สะอาด หรือในระหว่างกระบวนการผลิต ไม่รักษาสุขลักษณะให้ดีเพียงพอ 

  • สารกันบูดในน้ำดองผัก

    อาหารหมักดอง  ภูมิปัญญาการถนอมอาหารพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ แต่ละท้องถิ่นต่างมีเทคนิค การผลิตหัวเชื้อ กรรมวิธีการหมักและระยะเวลาการหมักดองที่ต่างกันไป อาหารหมักดอง ได้จากเมตาบอลิซึมของจุลินทรีย์ทำให้ได้สารที่มีกลิ่นรสตามต้องการในอาหาร และทำให้เก็บอาหารได้ยาวนานขึ้น วัตถุดิบที่นำมาหมักดองก็เป็นผลผลิตการเกษตร พืชผัก ผลไม้ตามฤดูกาล ที่มีในท้องถิ่น เช่น ผักกาดดอง  กระเทียมดอง  หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง ฝรั่งดอง องุ่นดอง 

  • ระวัง !!! ไขมันในชาเย็น

    วันนี้ ขอกล่าวถึงชาเย็น เครื่องดื่มยอดนิยมของคนไทยอีกครั้ง แม้ว่าชาเย็นจะเป็นเครื่องดื่มที่อร่อย ดื่มแล้วหวานมัน และเย็นชื่นใจ  แต่ก็ต้องระวัง เพราะในความหวานมันนั้น แฝงไว้ด้วยอันตรายที่เราอาจคาดไม่ถึง เพราะในชาเย็นอุดมไปด้วยน้ำตาล และไขมัน อย่างที่เรารู้กันดีว่า หากร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินพอดีจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลายชนิด ไขมันก็เช่นกัน ที่พบมีในชาเย็นอยู่ในปริมาณไม่น้อย โดยไขมันที่พบในชาเย็นนั้น

  • ไนไตรต์ใน “หมูยอ”

    หมูยอ อาหารแปรรูปจากเนื้อหมูที่ขึ้นชื่อของภาคอีสาน มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ห่อด้วยใบตองหนาๆ เพื่อให้มีกลิ่นหอมและช่วยเก็บรักษาได้นานๆ เพราะใบตองหนาๆ สามารถป้องกันสิ่งสกปรก ไม่ให้เข้าไปปนเปื้อนในหมูยอได้ ผู้ผลิตบางรายอาจมีการเติมสารกันเสียลงไป เพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อที่ทำให้อาหารเน่าเสียและเชื้อก่อโรค ทำให้สามารถเก็บรักษาหมูยอไว้ขายหน้าร้านได้นานๆ หรือส่งไปขายในพื้นที่ไกลๆ ได้ สารกันเสียที่นิยมใช้ในอาหารแปรรูปจากเนื้อหมู เช่น โพแทสเซียมไนไตรต์ และโซเดียมไนไตรต์ สารกันเสียข้างต้นกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น

  • ปลาทะเลแห้ง... กับสารพิษจากเชื้อรา

    การตากแห้ง หมัก ดอง แช่อิ่ม เชื่อม กวน นับเป็นการถนอมอาหารแบบพื้นบ้าน ภูมิปัญญาของชาวบ้านไทยที่สืบทอดกันมายาวนานในแต่ละท้องถิ่น คนไทยสมัยก่อนมีกรรมวิธีการถนอมอาหารที่ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างไปจากชาติอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นวิธีที่เรียบง่ายและประหยัดเงิน  กรรมวิธีที่พบเห็นบ่อยที่สุดน่าจะเป็นการตากแห้ง ที่เป็นวิถีชีวิตริมทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน เมื่อจับสัตว์น้ำขายแบบสดๆ แล้วหากยังเหลือ ก็จะนำมาตากแดดทำเป็นอาหารทะเลแห้ง สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างเป็นกอบเป็นกำ

  • ยาฆ่าแมลงในใบกุยช่าย

    กุยช่ายเป็นพืชวงศ์เดียวกับหอมและกระเทียม เป็นแหล่งสะสมวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงเซลล์ในส่วนต่างๆ ของดวงตาให้แข็งแรง ช่วยในการมองเห็นและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีธาตุเหล็กช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เลือกกินอย่างไร? อันนี้ต้องแล้วแต่ความชอบ  กุยช่ายมีหลายสีทั้งเขียวและขาว

  • เชื่อก่อโรคกับ “ผักสลัดบาร์”

    สลัดบาร์ อาหารที่ผู้รักสุขภาพชื่นชอบและหาซื้อได้ง่ายตามซูเปอร์มารเก็ต ร้านอาหาร โรงแรมทั่วไป ส่วนใหญ่จัดวางในรูปแบบที่มีผักนานาชนิด เช่น บีทรูด เรดโอ๊ค มะเขือเทศราชินี ผักคอส แครอท วอเตอร์เคส กะหล่ำม่วง ผักกาดแก้ว บร็อคโคลี่ ข้าวโพดอ่อน  กรีนโอ๊ค น้ำสลัดและเครื่องปรุงสลัดในลักษณะบุฟเฟต์  เราสามารถเลือกตักผัก  ส่วนผสมและน้ำสลัดได้ตามที่เราชอบ  ส่วนใหญ่เราจะเลือกซื้อจากร้านที่มีผักสลัดหลากหลาย และสดใหม่  ที่มักเห็นนำผักนานาชนิดใส่ถาดวางบนชั้นแช่เย็นหรือน้ำแข็งเพื่อคงสภาพความสดของผักไว้ล่อตาต่อใจ แต่สิ่งสำคัญที่จะขอเตือนผู้ชื่นชอบสลัดบาร์ให้ระวังคือ ความสะอาดของผัก 

     
  • ยาฆ่าแมลงตกค้างในตำลึง

    ตำลึง ผักพื้นบ้านที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เลื้อยตามรั้วบ้านหรือพุ่มไม้อื่นๆในทุกฤดูกาล คนไทยนิยมนำใบอ่อนและยอดตำลึง มาประกอบอาหารเป็นแกงจืดตำลึงหมูสับ แกงเลียง ใส่ในต้มเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยวหรือลวกทานกับน้ำพริกปลาทู ตำลึงเป็นผักที่มีสีเขียวเข้ม จึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีเบต้าแคโรทีนสูงเป็นแหล่งของวิตามินเอที่ดี ช่วยในเรื่องของภูมิต้านทานและเรื่องของการมองเห็น ตำลึงยังเป็นแหล่งของสารฟลาโวนอยด์ที่ดี ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวานและมะเร็ง

  • โลหะหนัก... กับขมิ้นชัน

    ขมิ้นเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่าและขิง มีหัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่ใช้เหง้าเป็นเครื่องเทศ ขมิ้น ข่าและขิง 3 มีรูปร่าง รสชาติ และกลิ่นที่แตกต่างกัน แต่มีสรรพคุณคล้ายๆ กัน ในการเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร  สมานแผลรวมถึงรักษาอาการหวัด พืชทั้ง 3 ชนิด นิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อสร้างกลิ่นให้กับอาหาร และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหาร ขมิ้น เป็นพืชสมุนไพรที่มีสีเหลืองหรือส้มแสด มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ คนไทยนิยมนำขมิ้นมาผสมกับเครื่องแกงเผ็ดเพื่อให้มีสีเหลือง และช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์

  • สารกันบูดในอาหารดอง

    สารกันบูด เป็นสิ่งที่ทั้งผู้บริโภคอย่างเราๆ  และคนขายได้ยินคุ้นหูกันมาเนิ่นนาน ความหมายของสารกันบูดก็ตรงตัว คือ  เป็นสารที่ใส่ในอาหารเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต หรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย  และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารไว้ได้ยาวนานขึ้น สารกันบูด มีทั้งที่เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ และสารธรรมชาติ สารสังเคราะห์ ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก กรดโปรปิโอนิก ไนไตรต์ และซัลไฟต์ ส่วนสารธรรมชาติ ได้แก่ น้ำส้มสายชู สมุนไพรต่างๆ และเครื่องเทศบางชนิด

Page: 1 of 66 page(s)