• ปรอทในปลาทูน่ากระป๋อง

            ปลาทูน่า ปลาทะเลที่อุดมไปด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน โอเมก้า 3 แร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก ไอโอดีน วิตามินบี คนไทยนิยมนำปลาทูน่าชนิดครีบเหลือง ครีบยาว ปลาทูน่าตาโตมาทำเป็นเมนูซาชิมิหรือซูชิ ส่วนปลาทูน่าสคิปแจ็กนิยมนำมาแปรรูปเป็นทูน่ากระป๋องแช่ในน้ำแร่ น้ำเกลือ หรือน้ำมันพืช ที่คนไทยนิยมใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร เช่น สลัดปลาทูน่า ยำปลาทูน่า น้ำพริกปลาทูน่า แซนด์วิชปลาทูน่า พล่าปลาทูน่า กะเพราปลาทูน่า ทาโก้ปลาทูน่า แม้ปลาทูน่าจะเป็นอาหารที่ทั้งอร่อยและมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ทว่าก็อาจมีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วย

  • ขนมขาไก่กับสีผสมอาหาร

            ขนมขาไก่ ขนมที่เด็กไทยชื่นชอบมายาวนาน ด้วยความที่มีรสชาติกลมกล่อม เคี้ยวเพลิน นิยมทานเป็นของทานเล่น ขนมขาไก่มีลักษณะเป็นท่อนเล็กๆ ขนาดพอคำ ส่วนผสมหลักคือ แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล น้ำปลา เกลือ พริกไทย พริกป่น เมื่อผสมได้ที่แล้ว นำไปทอดหรืออบจนสุกก็จะได้ขนมขาไก่สีออกเหลืองน่าทาน ปัจจุบันหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ในตลาดที่มักตักใส่ถุงแบ่งขาย และในห้างสรรพสินค้า ทว่า การผลิตขนมขาไก่อาจมีผู้ประกอบการบางรายเติมสีผสมอาหารสังเคราะห์ลงไป เพื่อให้ขนมขาไก่มีสีเหลืองหรือส้มเข้มสดใส ไม่ซีด และดูน่าทาน

     

  • สารฟอกขาวกับเส้นหมี่ขาวสด

            เส้นหมี่ขาว ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากข้าวเจ้า ลักษณะเป็นเส้นกลมยาว สีขาว ถือเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่คนไทยนิยมใช้ประกอบอาหารทั้งอาหารจีน และไทย ด้วยความที่ผู้บริโภคชอบเส้นหมี่สดที่มีสีขาวๆ มากกว่าสีน้ำตาลอ่อนหรือสีคล้ำ ทำให้ผู้ผลิตบางรายอาจมีการเติมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาวลงไปเพื่อทำให้เส้นหมี่มีสีขาว ไม่หมองคล้ำ ดูสดใหม่ น่าทาน แถมยังทำให้เก็บรักษาไว้ขายได้นาน

  • หมูหยองกับเชื้อก่อโรค

            หมูหยอง อาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากจีน เป็นอาหารแห้งที่มีลักษณะเป็น ฝอย ฟู กรอบ มีสีเหลืองออกน้ำตาลอ่อน คนไทยนิยมทานเป็นอาหารทานเล่น หรือทานร่วมกับข้าวต้มกุ๊ย หรือทำเป็นเมนูข้าวผัดกุนเชียง ข้าวผัดสับปะรด หรือเป็นวัตถุดิบของ ขนมปังไส้หมูหยอง แซนวิชไส้หมูหยอง ข้าวตังหน้าหมูหยอง ทว่า หากผู้ผลิตรักษาสุขลักษะส่วนบุคคล หรือสุขลักษณะในระหว่างการผลิต หรือจัดเก็บหมูหยองที่ไม่ดีเพียงพอ เก็บไว้ในที่อับชื้น หรือไม่มีการป้องกันการปนเปื้อน ทำให้มีเชื้อก่อโรคปนเปื้อนได้

  • โซเดียมกับยำวุ้นเส้น

            ยำวุ้นเส้น อาหารรสแซ่บที่คนไทยแทบทุกภาคนิยมทาน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น สาวออฟฟิศ สาวโรงงานที่ชอบอาหารรสจัด แซ่บ นัว  ยำวุ้นเส้นมีส่วนประกอบหลักคือ วุ้นเส้นสุก เนื้อสัตว์ เช่น หมูสับ หมูยอ ไส้กรอก ไก่ กุ้ง ปลาหมึก ขึ้นฉ่าย หอมแดงหรือหอมใหญ่ซอย ที่ขาดไม่ได้คือ น้ำยำที่ปรุงด้วยน้ำปลา น้ำตาล น้ำมะนาว ผงปรุงรส ผงชูรส บางร้านอาจเติมน้ำปลาร้าเข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มความนัวทว่า เครื่องปรุงที่ใช้ปรุงอาหารเช่น เกลือ น้ำปลา ผงชูรส ผงปรุงรส ซอส ซีอิ๊ว น้ำปลาร้า เพื่อเพิ่ม  ความนัวและกลมกล่อมนั้น วันนี้อาจต้องระวังกันนิด เพราะอาจมีโซเดียมแฝงอยู่ 

  • ปลาทูสดกับฟอร์มาลดีไฮด์

         ปลาทู อาหารประจำครัวของคนไทยที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ  ปลาทูนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ปลาทูทอด น้ำพริกปลาทู ฉู่ฉี่ปลาทู ต้มยำปลาทู แกงผักปลังปลาทูย่าง แกงกะทิไหลบัวปลาทู ห่อหมกปลาทู ปลาทูสามรส เมี่ยงปลาทู ทว่าวันนี้ สิ่งที่อยากเตือน ท่านที่ชื่นชอบปลาทูให้ระวังกันนิด คือ สารฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในปลาทู 

  • คิมบับกับเชื้อ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส

            คิมบับ อาหารสัญชาติเกาหลีที่เป็นที่นิยมของคนไทย จากผลพวงของกระแสวัฒนธรรมเกาหลี  ที่ส่งผ่านมาทางซีรี่ย์ เคป๊อบ และรายการอาหารต่างๆ ด้วยความที่กรรมวิธีการทำคิมบับต้องใช้มือหยิบจับและสัมผัสกับวัตถุดิบทั้งข้าวสุก ไส้ เช่น แฮม หมูสามชั้น ปูอัดที่ผัดกับซอสบุลโกกิ ไข่เจียวซอย ผักลวกซอย เช่น แครอท ผักโขม ฟังทอง หัวไชเท้าดอง แตงกวาดอง เพื่อนำมาห่อด้วยสาหร่ายแผ่น และหั่นให้เป็นชิ้นพอดีคำ ซึ่งหากมือของผู้ปรุง หรือพ่อครัวแม่ครัว ไม่ล้างให้สะอาด ไม่มีการรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอ ก็อาจทำให้มีเชื้อก่อโรค เช่น สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส

  • ไนเทรตและไนไทรต์กับกุนเชียงหมู

            กุนเชียงหมู อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์สัญชาติจีน ที่คนไทยนิยมทาน โดยนำมาทำเป็นเมนูต่างๆ เช่น กุนเชียงทอด ยำกุนเชียง ข้าวผัดกุนเชียง ผัดกระเพรากุนเชียง หรือทานเป็นเครื่องเคียง เช่นข้าวคลุกกะปิ กุนเชียงที่น่าซื้อ ผู้บริโภคมักชื่นชอบต้องมีสีแดงสวย ชวนทาน แต่กระบวนการผลิตกุนเชียงจะต้องผ่านการอบแห้งที่ทำให้กุนเชียงมีสีแดงคล้ำ ไม่สวยงาม ผู้ผลิตกุนเชียงจึงนิยมเติม วัตถุเจือปนอาหารกลุ่มไนเทรตและไนไทรต์

  • เครื่องดื่มอัดก๊าซกับแอสพาร์เทม

         เครื่องดื่มอัดก๊าซ น้ำอัดลม นับเป็นเครื่องดื่มที่ทุกเพศทุกวัยชื่นชอบเพราะมีรสหวาน ซ่า ดื่มแล้วชื่นใจ ส่วนประกอบหลักของเครื่องดื่มอัดก๊าซคือ น้ำ น้ำตาล ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาจเติมกลิ่นและสีเพื่อให้น่าดื่มมากขึ้น ด้วยกระแสการรักสุขภาพของผู้บริโภคปัจจุบัน และการรณรงค์ป้องกันโรค NCDs ของรัฐ ทำให้ผู้ผลิตผลิตเครื่องดื่มอัดก๊าซสูตรไม่ใส่น้ำตาลมากขึ้น โดยเติมสารให้ความหวาน เช่น  แอสพาร์เทมแทนน้ำตาล ทำให้เครื่องดื่มยังคงความหวานไว้ แต่มีแคลอรี่ต่ำลงหรือให้พลังงานต่ำ ช่วยลดการบริโภคน้ำตาล ป้องกันโรค NCDs เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ 

  • น้ำปลาร้ากับสารตะกั่ว

            น้ำปลาร้า เครื่องปรุงอาหารถิ่นอีสานที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารหลากหลายเมนู เช่น ส้มตำปูปลาร้า ยำขนมจีนและยำต่างๆ แกงเปอระ แกงหน่อไม้สด หมูปลาร้า เพราะน้ำปลาร้าช่วยให้อาหาร มีรสอร่อย หรือที่เรียกกันว่านัว น้ำปลาร้าได้จากการนำปลาน้ำจืด เช่น ปลากระดี่ ปลาสร้อย ปลาช่อน หรือปลาทะเล เช่น ปลาจวด ปลาข้างเหลือง ปลาช่อนทะเลมาหมัก กระบวนการหมักเริ่มจากล้างปลาให้สะอาดแล้วนำมาผสมกับเกลือ รำ ข้าวคั่ว หมักทิ้งไว้ 3 เดือนถึง 1 ปี จากนั้นกรองและต้มให้สุก ก็จะได้น้ำปลาร้าแซ่บนัว ปัจจุบัน มีน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จต้มสุกบรรจุขวดวางขายในท้องตลาดและร้านค้าออนไลน์หลายยี่ห้อให้เราเลือกซื้อมาปรุงอาหารได้สะดวกขึ้น ทว่าน้ำปลาร้าที่ช่วยชูรสให้อาหารนัวนั้น อาจมีอันตรายบางอย่างแฝงอยู่ได้

Page: 1 of 66 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT