• เชื้อก่อโรคใน...น้ำทับทิมบรรจุขวด

    สำหรับคนรักสุขภาพ คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินเรื่องของซูปเปอร์ฟู้ด และซูปเปอร์ฟรุ๊ต อาหารเพื่อสุขภาพทานแล้วแข็งแรง ให้ผลดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางอาหารสูง มีหลากหลายชนิด ทั้งบริโภคสด และแปรรูป  ทับทิมเป็นผลไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มซุปเปอร์ฟรุ๊ต มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะสารโพลีฟีนอล โดยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในทับทิมสูงกว่า ไวน์แดงและใบชาเขียวถึง 3 เท่า นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซี, วิตามินบี 5 และโพแทสเซียม หากดื่มน้ำทับทิมเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต 

  • ลอดช่องน้ำกะทิกับเชื้อก่อโรค

    หากกล่าวถึงขนมไทยโบราณ 4 ชนิดที่น้อยคนจะคุ้นชื่อ ได้แก่ ไข่กบ หรือเม็ดแมงลัก นกปล่อย หรือลอดช่อง  บัวลอยหรือข้าวตอก และอ้ายตื้อ หรือข้าวเหนียว ขนมไทยทั้ง 4 ชนิด เป็นขนมที่แม่บ้านสมัยโบราณนำมาจัดเป็นสำรับไว้ทานหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ แสดงถึงความเป็นอยู่ ประเพณี และวัฒนธรรมตามวิถีไทยที่ร้อยเรียงเรื่องราวจากสิ่งใกล้ตัว จวบจนปัจจุบันน้อยคนนักที่จะรู้ชื่อโบราณ  รู้จักกันเพียงแค่ชื่อสมัยใหม่เท่านั้น

  • สาร PCBs ในปลาแซลมอน

    ปัจจุบัน ต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย ทั้งเรื่องการแต่งตัว ภาษาพูด ภาษากาย รวมถึงอาหารการกินที่คนไทยกำลังนิยมอาหารนานาชาติ เช่น อาหารญี่ปุ่น ที่มีความเชื่อว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณภาพและปลอดภัย หนึ่งในวัตถุดิบสำคัญของอาหารญี่ปุ่นคือ ปลาชนิดต่างๆ รวมถึงปลาแซลมอน แซลมอนเป็นปลาที่อาศัยได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม หรือที่มักเรียกว่า ปลาสองน้ำ โดยร้อยละ 60 มาจากการเพาะเลี้ยง มีทั้งเพาะเลี้ยงจากการขุดบ่อ หรือเลี้ยงตามแหล่งน้ำ ปลาแซลมอนมีประโยชน์สูง  เป็นแหล่งโปรตีน  แถมยังมีโอเมก้าทรี (Omega 3)   

  • โอคราท็อกซิน เอ ในลูกเกด

     ปัจจุบันอาหารประเภทพืช ผัก ผลไม้และธัญพืชอบแห้ง กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ และกลุ่มคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะเป็นอาหารที่ใช้กระบวนการอบแห้งด้วยความร้อน ไม่ผ่านการทอดโดยใช้น้ำมัน และมักไม่เติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไป ลูกเกด อาหารอบแห้งอีกชนิดที่ทำมาจากผลองุ่นหลากหลายสายพันธุ์ เช่น สีเขียว ดำ น้ำเงิน ม่วง เหลือง  ลูกเกดที่คนนิยมทานมักเป็นลูกเกดสีเหลืองทอง แม้ว่าลูกเกดจะเป็นอาหารแห้ง แต่หากเก็บรักษาไว้ในสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีความชื้นสูง อาจทำให้มีเชื้อราปนเปื้อน เช่น เชื้อรา  Aspergillus  achraceus 

  • เชื้อก่อโรคใน... ยำแหนม 2

    เดือนที่แล้ว มันมากับอาหาร เสนอเรื่องราวของเชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ กับยำแหนมไปแล้ว วันนี้จะขอนำเสนอเรื่องของยำแหนมอีกครั้ง แต่เป็นยำแหนมกับเชื้ออีกชนิดที่ชื่อ อี. โคไล เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อประจำถิ่น คือ พบในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป เมื่อพบได้ในลำไส้  แน่นอนว่าจะต้องตรวจพบเชื้อชนิดนี้ในอุจจาระของคนและสัตว์ในปริมาณมาก และสามารถพบปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น้ำ หรือมือของผู้ปรุงอาหารที่ไม่ทำความสะอาดหลังเข้าห้องน้ำ ปกติเชื้อ อี. โคไล ประจำถิ่นจะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้เกิดโรค                                                                       

     
  • เชื้อก่อโรคใน...ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน

    ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน  อีกหนึ่งเมนูสุขภาพ ทานแล้วไม่อ้วน ที่ให้คาร์โบไฮเตรตไม่มากจากแผ่นก๋วยเตี๋ยว ให้โปรตีนจากเนื้อหมูหรือเนื้อไก่พอประมาณ  และส่วนใหญ่ให้วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารสำคัญที่มีตามธรรมชาติจากผัก สมุนไพร และเครื่องเทศ  เช่น แครอท เห็ดหอม ผักกาดหอม โหระพา ผักชีฝรั่ง และจากน้ำจิ้มที่มีส่วนประกอบของ พริกขี้หนูสวน รากผักชี กระเทียม มะนาว เป็นต้น คนไทยมักทานก๋วยเตี๋ยวลุยสวน คู่กับน้ำจิ้ม ทานเพลินๆ ได้หลายชิ้น เพราะราคาไม่แพงและไม่อ้วน แถมหาซื้อได้ง่ายตามตลาดนัด รถเข็น แผงลอย ย่านถนนขายอาหารทั่วๆ ไป 

  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในทุเรียนกวน

    ฤดูร้อนเป็นฤดูที่มีช่วงเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี และเป็นช่วงที่ผลไม้ของไทยหลายชนิดให้ผลผลิตมากมาย เช่น มะม่วง เงาะ มังคุด และทุเรียน ทุเรียนนั้นเป็นผลไม้ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างหลงใหลในสีเหลืองอร่าม รสชาติหวานละมุน ทว่าเป็นผลไม้ที่ขายได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ หากเก็บไว้นานจะสุกจนงอมและเละ ไม่น่าทาน มีกลิ่นเหม็น ชาวสวนจึงคิดค้นหาวิธีแปรรูปทุเรียนสดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เก็บรักษาได้นานขึ้น เช่น ทุเรียนกวน

  • เชื้อก่อโรคในก๋วยจั๊บ

    ก๋วยจั๊บ อาหารจานเดียวประเภทเส้นทำจากแป้งข้าว หาซื้อง่ายตามร้านอาหารริมทางหรือ Street Food ส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ เส้นก๋วยจั๊บ เนื้อหมู เครื่องในหมู เลือดหมู ไข่ต้ม ถั่วงอกหรือตำลึง ก๋วยจั๊บ มีรสชาติเข้มข้นจากน้ำซุปสูตรต่างๆ มีทั้งแบบน้ำข้นและน้ำใส ก๋วยจั๊บที่อร่อย น้ำซุปต้องมีความกลมกล่อม ส่วนผสมที่เป็นเนื้อสัตว์ต้องสะอาด และไม่เหม็นคาว โดยเฉพาะส่วนเครื่องในที่ประกอบด้วยไส้หมู ปอด หัวใจ ตับ กระเพาะ จะต้องทำความสะอาดอย่างดี มิเช่นนั้นอาจมีเชื้อก่อโรคปนเปื้อนได้ เช่น เชื้อ วิบริโอ คลอเรลลา

  • ยาปฏิชีวนะกับเนื้อหมูสด

    เนื้อหมู แหล่งโปรตีนสำคัญและเป็นเนื้อสัตว์ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆของคนไทย เพราะนำมาทำอาหารได้หลากหลาย เช่น กระเพราหมู ลาบหมู หมูน้ำตก แกงจืดหมูสับ   และเมนูยอดฮิตคือ หมูกระทะ หมูจุ่ม ในเนื้อหมูนอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้วยังเป็นแหล่งของสารอาหารอื่นๆ เช่น วิตามินบี 1 ช่วยลดอาการเหน็บชา  วิตามินเอช่วยบำรุงสายตา  มีฟอสฟอรัสและไนอาซีน(วิตามินบี3) ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง บำรุงสมอง พบมากในเนื้อส่วนที่ไม่ติดมัน แม้เนื้อหมูจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็อาจมีสารที่เป็นอันตรายตกค้างอยู่ด้วยได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ที่เป็นยาใช้รักษาสัตว์ป่วย (ใช้ในปริมาณสูง) 

  • สารฟอกสีในน้ำตาลมะพร้าว

     ในอดีตคนโบราณมีความเชื่อว่า มะพร้าว เป็นผลไม้แห่งความบริสุทธิ์  น้ำมะพร้าวคือ น้ำที่บริสุทธิ์ที่สุดที่ธรรมชาติสร้างให้ จึงไม่น่าแปลกใจที่มะพร้าวและน้ำมะพร้าว ถูกนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ จากอดีตที่ปลูกมะพร้าวกันแบบหัวไร่ปลายนา ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นการปลูกในรูปแบบการเกษตรเต็มขั้นเพื่อจำหน่าย    ทุกส่วนของมะพร้าว นำมาใช้ได้ตั้งแต่รากจนถึงดอก  แต่ที่สร้างมูลค่าได้มากที่สุดคือ น้ำมะพร้าวและน้ำตาลมะพร้าว  น้ำมะพร้าวหากดื่มจากลูกแบบสดๆ  จะได้รับประโยชน์มหาศาล     

Page: 1 of 66 page(s)