• กินชะอมสด ระวังท้องร่วง

    ขึ้นชื่อว่าผักสวนครัว รั้วกินได้แล้วนั้น ลองคิดลำดับชนิดผักที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คงหนีไม่พ้นสมุนไพรที่ให้กลิ่น และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารไทย เช่น กระเพราะ โหระพา ตะไคร้ ใบมะกรูด และชะอม ตามต่างจังหวัดนิยมปลูกต้นชะอมไว้เป็นรั้ว นัยหนึ่งไว้ป้องกันสัตว์ร้ายเข้าบริเวณบ้าน เนื่องจากชะอมมีหนามแหลมคมหากโดนเข้าไป จะทำให้รู้สึกเจ็บไปได้หลายวัน

  • ภัยจากอาหารปิ้งย่าง วันนี้มีวิธีป้องกัน

    ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โลกกว้างใหญ่ถูกย่อไว้ด้วยคอมพิวเตอร์ การศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ง่ายนิดเดียว
    เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ก้าวตามไปติดๆ คือ โรคภัยไข้เจ็บที่ต่างพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ การรู้ตัวแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งที่เราต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

  • กินตับไก่......ปลอดภัยจากเชื้อโรค

    ในบรรดาอาหารปิ้ง ๆ ย่างๆ ที่ส่งกลิ่นหอมกรุ่นเชิญชวนให้คนหันมาซื้อไปลิ้มลองไม่ว่าจะเป็นหมูย่าง ไก่ย่าง รวมถึงเครื่องในสัตว์ชนิดต่างๆ นั้น ที่นิยมที่สุดคงหนีไม่พ้นตับไก่
    วันนี้ตับไก่ ไม่อันตราย เพราะจากผลวิเคราะห์ของสถาบันอาหาร ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอย่าง ซาลโมเนลลา  ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ

  • สารกันบูดในกะปิ

    สารกันบูด (Preservatives) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัตถุกันเสีย เป็นสารเคมีที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและช่วยในการถนอมอาหารได้ เพราะช่วยชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวที่นิยมกันมากคือ พวกกรดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอท เพราะมีราคาถูกและไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยน จึงมักเติมลงในเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ ซอส ผักดอง แยม เยลลี่ ผลไม้แช่อิ่ม และเครื่อแกงสำเร็จรูป

  • สารกันบูดในเส้นใหญ่

    โดยทั่วไปก๋วยเตี๋ยว ที่เราเห็นขายตามท้องตลาดมีทั้ง เส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ บะหมี่และก๋วยจั๊บ หากทำเสร็จแล้วขายเลย เราเรียกเส้นประเภทนี้ว่าเส้นสด ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน
    เพราะมีความชื้นสูงทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้นประมาณ 5 วันเมื่อเก็บได้ไม่นานการกระจายสินค้าก็ไปได้ไม่ไกล ให้ผู้ประกอบการอาจหันมาพึ่งสารเคมีเพื่อยืดอายุจากที่เคยเก็บไว้ได้ไม่เกิน 5 วัน
     

  • สารกันหืนในคุกกี้

    สวัสดีปีใหม่  ชาวไทยทุกท่าน  ช่วงนี้หากยังไม่ได้กล่าวคำนี้กับใคร  ขอให้รีบกันสักนิด เพราะถ้าเลยไปถึงอาทิตย์หน้าเมื่อไหร่  อาจกลายเป็นคนเอ้าท์ไปในทันที ช่วงนี้ในหลายๆ ที่ทั่วประเทศมีการแจกของขวัญ  แลกของที่ระลึก และจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ต่างๆ เผื่อว่าปีหน้าบ้านเมืองเราจะมีสิ่งดีๆ กับเขาบ้าง ช่วงที่เราต้องหาซื้อของชำร่วย หรือของขวัญปีใหม่ ติดไม้

  • อะคริลาไมด์..... ในคุกกี้

    หลายคนคงอาจคาดไม่ถึงว่าอาหารจานด่วนและขนมขบเคี้ยว ที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้บางชนิดแฝงไว้ด้วยสารอันตราย อะคริลาไมด์ (Acrylamide) สารดังกล่าวมิใช่สารอันตรายที่อุบัติขึ้นใหม่
    เพียงแต่เป็นสารที่ชาวโลกรู้จักอย่างแพร่หลายในปี 2545 เมื่อสำนักงานอาหารแห่งประเทศสวีเดน (Swedish National Food Administration: NFA) ได้สุ่มอาหารกว่า 100 ตัวอย่าง

  • วิตามินซี มีดีมากกว่าที่คิด...

    หลายคนคงได้ยินเรื่องราวของวิตามินซีกันมานาน วันนี้มันมากับอาหารขอย้ำถึงคุณประโยชน์ของวิตามินซีกันอีกครั้ง วิตามินซีพบได้ทั้งในผัก  เช่น ดอกกะหล่ำ  ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ถั่วลันเตา  ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ผักโขม ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง มะรุม ยอดมะม่วง  และในผลไม้ เช่น ฝรั่ง  ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้มสตรอเบอรี่  มะพลับ ผลกีวี่ เชอรี่  หน้าที่สำคัญของวิตามินซีที่ส่งผลดีต่อร่างกาย

  • เชื้อโรคในไอศกรีมกะทิ

    ร้อนๆ อย่างนี้ได้ไอศกรีมสักถ้วยไว้ดับกระหายคงจะชื่นใจไม่น้อย ไอศกรีม ในบ้านเรานั้นหากินได้ไม่ยาก มีกันทุกหัวถนน และหลากหลายรสชาต โดยมีการดัดแปลงให้ใกล้เคียงกับรสชาติของผลไม้และวัตถุดิบชนิดต่างๆ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในรสธรรมชาติแท้ๆ ต้องเป็นไอศกรีมกะทิ ที่ทั้งหอม หวาน มัน  ตักกินเย็นๆ แล้วชื่นใจ  และหากใส่เครื่องเช่น ลูกชิด หรือขนมปังก็อร่อยไปอีกแบบ

  • สาร PCBs ในปลา

    เมื่อก่อนเรามักได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ ว่าถ้าอยากให้เด็กฉลาดต้องกินเนื้อปลา เนื่องจากในเนื้อปลามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิด โดยชนิดที่เด่นๆ คือ ดีเอชเอ (DHA,Docosagexaenoic Acid) ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองให้เป็นปกติ และอีพีเอ  (EPA, Eicosapentaenoic Acid) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมอง

Page: 1 of 68 page(s)