งานวิจัยประเมินความเสี่ยง : กลุ่มปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์
  • สภาพความเสี่ยงในอาหารกลุ่มปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์

     การผลิตอาหารกลุ่มปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ของไทย จากการวิจัยพบว่าชนิดอันตรายและลำดับความเสี่ยงของอันตรายสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคนั้น มีดังนี้

     

    เนื้อสุกรสดที่บริโภคในประเทศ
    พบอันตรายจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิด Salmonella spp. (nontyphi), E.coli, Staphylococcus aureus โดยมีจุดเสี่ยงคือ การเลี้ยงในระดับฟาร์มและการชำแหละที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อันตรายจากสารปฏิชีวนะตกค้าง คือ สาร aminoglycosides, quinolones, chloramphenicol, dimetridazole, bacitracin, ronidazole, furazolidones และสารเร่งเนื้อแดง ซัลบูทามอล โดยมีจุดเสี่ยงคือ การเลี้ยงในระดับฟาร์ม นอกจากนี้ยังพบ การปนเปื้อนของ บอแรกซ์ในเครื่องในและเลือด

     

    เนื้อสุกรแช่แข็งเพื่อการส่งออก
    พบอันตรายจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิด Salmonella (nontyphi), E.coli (enteric) และ Campylobacter spp. โดยมีจุดเสี่ยง คือ การเลี้ยงในระดับฟาร์มและขั้นตอนการชำแหละไม่ถูกสุขลักษณะส่วนสารปฏิชีวนะที่ควรเฝ้าระวังและตรวจติดตามได้แก่ aminoglycoside, quinolones, chloramphenicol, dimetridazole, bacitracin, ronidazole และ furazolidones โดยมีจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของอันตรายเหล่านี้ คือ ขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสัตว์จะได้รับสารปฏิชีวนะทั้งในรูปของยาฉีด ยาชนิดผงละลายน้ำและยาผสมในอาหารสัตว์ก่อนนำไปเลี้ยงสัตว์ ส่วนสารซัลบูทามอลเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในอาหารสัตว์และน้ำในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์เช่นกัน

    เนื้อไก่สดบริโภคภายในประเทศ
    พบอันตรายจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคชนิด Streptococcus (group A) และ Campylobacter spp. โดยมีจุดเสี่ยงคือ การเลี้ยงในระดับฟาร์ม การชำแหละและระหว่างการจำหน่ายส่วนสารปฏิชีวนะตกค้างได้แก่กลุ่ม aminoglycosides, tetra group, macrolide, sulfa drug, furazolidones และ nitrofurans
     
     
    ภาพประกอบ : rakbankerd.com

     

     

จำนวนครั้งที่อ่าน 7051 กลับสู่หน้าหลัก