งานวิจัยประเมินความเสี่ยง :
  • สภาพความเสี่ยงในอาหารกลุ่มผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์

    การผลิตผัก ผลไม้สดของไทย จากการวิจัยพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายที่สำคัญดังนี้ อันตรายทางเคมีได้แก่ สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

    สภาพความเสี่ยงในผัก ผลไม้สด

    ผักสด
    ชนิดของผักที่บริโภคในประเทศและพบสารตกค้างในปริมาณสูง ได้แก่ ผักคะน้า กะหลํ่าปลี กะหล่ำดอก และผักกาดขาว โดยชนิดสารเคมีที่พบตกค้างเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ Carbofuran, Carbosulfan, Cypermethrin และ Methamidophos

    ผลไม้สด
    ผลไม้สดที่บริโภคในประเทศพบว่า ส้มเขียวหวาน องุ่นและแตงโม มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างมาก โดยมีจุดเสี่ยง คือ ขั้นตอนการเพาะปลูกและการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะที่ผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น สับปะรด พบการตกค้างของ สารไนเตรท ซึ่งมีสาเหตุจากการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป โดยมีจุดเสี่ยงคือ ขั้นตอนการเพาะปลูกสำหรับลำไยพบการตกค้างของ สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากการรมควันเพื่อให้เปลือกแห้งและแข็ง ทนทานต่อการขนส่งและป้องกันการเน่าเสีย โดยมีจุดเสี่ยงคือ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ส่วนสินค้าผัก ผลไม้สดนำเข้ามีสารเคมีตกค้างที่ควรตรวจติดตาม ได้แก่ องุ่น ส้ม แอปเปิ้ล สาลีและแครอท สำหรับอันตรายด้านชีวภาพในผักผลไม้สดที่สำคัญ คือ เชื้อ E .coli ในข้าวโพดฝักอ่อนหลังจากการกรีดเปลือกออกจากฝัก

    สภาพความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้

    การผลิตผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ของไทยนั้น พบปัญหาการกักกันสินค้าผักผลไม้แช่เย็น/แช่แข็ง มีสาเหตุเนื่องมาจากปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอม นอกจากนั้น ยังพบการตกค้างของสารเคมี กำจัดศัตรูพืช การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์เป็นครั้งคราว โดยมีจุดเสี่ยงคือ วัตถุดิบผักผลไม้สด การเพาะปลูก น้ำใช้ในการชลประทาน และน้ำใช้ในโรงงาน

    ผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้แห้ง
    พบว่าอันตรายด้านเคมีที่สำคัญ ได้แก่ การเติมสีผสมอาหารที่ห้ามใช้ และการใช้สารฟอกสี ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณที่สูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด ชนิดของผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้แห้งที่มีความเสี่ยงมาก ได้แก่ พริกป่น นอกเหนือจากการเติมสีแล้วพบความเสี่ยงจาก

    ภาพประกอบ : อินเตอร์เนต

จำนวนครั้งที่อ่าน 7042 กลับสู่หน้าหลัก