• เชื้อก่อโรคกับไข่แดงเค็ม

               ไข่แดงเค็ม อาหารรสชาติเค็มๆมันๆที่คนไทยใช้เป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารคาวและหวานหลากชนิด เมนูที่เราคุ้นเคย เช่น ยำไข่แดงเค็ม ยำปูไข่แดงเค็ม ส้มตำไทยไข่แดงเค็ม ส้มตำข้าวโพดไข่เค็ม ปลาหมึกผัดไข่เค็ม บ๊ะจ่าง บัวลอยไข่เค็ม ขนมเปี๊ยะ (ไส้ไข่แดงเค็ม) โทสต์ราดซอสไข่เค็ม ปิงซูไข่เค็ม ยิ่งกว่านั้น 2 ปีที่ผ่านมานี้ อาหารสำเร็จรูปรสไข่เค็มได้กลายเป็นเมนูยอดฮิตมีสินค้าออกวางจำหน่ายหลากหลายทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไข่แดงเค็ม มันฝรั่งทอดรสไข่เค็ม กล้วยทอดกรอบรสไข่เค็ม

     

  • เชื้อก่อโรคกับปลาแพนกาเซียสดอร์รี่สด

    ช่วงนี้หลายๆ ท่านอาจละเว้น หรือลดความถี่การไปจับจ่ายซื้อหาอาหาร เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ในตลาดสด และซุเปอร์มาร์เก็ต เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 ทุกครั้งที่ออกจากบ้านไปซื้อ ก็จะซื้อในปริมาณมากพอสำหรับเก็บไว้ปรุงอาหาร หรือทานได้ตลอดทั้งสัปดาห์ เนื้อสัตว์ ปลาและอาหารทะเลสดแช่แข็ง จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะกับช่วงนี้   เพราะเมื่อซื้อมาแล้วก็สามารถเก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็นไว้ได้นาน  วันไหนอยากทานก็นำมาละลายน้ำแข็งและปรุงเป็นอาหารตามที่ชอบ ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ เป็นอาหารอีกชนิดที่คนนิยมทาน

  • เชื้อก่อโรคในบิงซูและขนมหวาน

               บิงซู หวานเย็นสัญชาติเกาหลี ที่มีน้ำแข็งไสเนื้อฟูนุ่มคู่กับเครื่องโรยหน้ารสหวาน เช่น ผลไม้หั่น ถั่วแดง นมข้นหวาน น้ำเชื่อมรสผลไม้ต่างๆ ที่ทานแล้วรับรองว่าฟินเหมาะกับช่วงอากาศร้อนๆของบ้านเรา เพราะบิงซูมีน้ำแข็งไสเป็นส่วนประกอบหลัก หากร้านค้าใช้น้ำแข็งหรือส่วนผสมต่างๆที่ไม่สะอาดเพียงพอ ก็อาจทำให้มีเชื้อก่อโรค เช่น ซาลโมเนลลา ปนเปื้อนได้

  • โซเดียมกับส้มตำปู ปลาร้า

              สองสามวันมานี้ หลายท่านคงได้รับข่าวสารว่าภาครัฐจะมีนโยบายเก็บภาษีความเค็ม เพื่อควบคุมปริมาณการใช้โซเดียมในส่วนประกอบของอาหาร หวังลดความเสี่ยงของคนไทยจากการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะคนที่ทานอาหารรสเค็มเป็นประจำ หรือชอบรสเค็มจัด มักพบเป็นโรคเหล่านี้ รสเค็มในอาหารมาจากโซเดียมที่อยู่ในรูปของ “เกลือแกง” มักมีอยู่ในเครื่องปรุงอาหารของไทยเรา เช่น เกลือ น้ำปลา กะปิ ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู น้ำปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ ผงชูรส ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้ม และในอาหารแปรรูป เช่น บะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปชนิดก้อนและชนิดซอง ขนมขบเคี้ยว อาหารสำเร็จรูปแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ

  • ยาฆ่าแมลงกับผักสด

              ช่วงนี้เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวของเมืองไทย บางพื้นที่ก็มีน้ำท่วม บางพื้นที่ก็เริ่มมีอากาศหนาวเย็น อากาศที่เริ่มหนาวเย็นน่าจะเป็นที่พอใจของนักท่องเที่ยวไทยหลายคน แต่เรื่องน้ำท่วมนอกจากจะทำให้คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเดือดร้อนแล้ว ยังส่งผลกระทบให้พืชผักต่างๆ มีราคาแพงขึ้นอีกด้วย เช่น ผักชีที่ราคาพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 400 บาท เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

  • เชื้อก่อโรคในอาหารทะเลบริโภคดิบ

              กระแสอาหารเกาหลีฟีเวอร์ ทำให้ทุกวันนี้เรามักเห็นมีเมนูกุ้งดอง ปูดอง ปูไข่ดองเกาหลี ขายแพร่หลายทั้งในร้านอาหารเกาหลี ร้านริมทาง และร้านค้าตามตลาดนัด  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรสชาตและความสดของกุ้ง ปู ที่มองแล้วชวนให้น้ำลายสอ จนอดใจไม่ไหวต้องซื้อหามาทาน เมนูเหล่านี้เป็นอาหารที่ทานดิบๆ เพียงแค่นำมาดองเค็มเพื่อดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาตให้กลมกล่อม ไม่ได้นำมาปรุงให้สุกเสียก่อน  ฉะนั้นจะต้องระวังและเลือกซื้อจากร้านที่มั่นใจว่าใช้วัตถุดิบกุ้ง ปูที่สด สะอาดจริงๆ เพราะไม่งั้นร่างกายอาจได้รับอันตรายจากเชื้อก่อโรคได้  เชื้อก่อโรคที่ว่าคือ วิบริโอ คอเลอเร  เชื้อชนิดนี้พบได้ตามธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำกร่อยและสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู จึงอาจพบเชื้อนี้ปนเปื้อนอยู่ในวัตถุดิบกุ้ง ปู ที่นำมาปรุงเป็นเมนูกุ้งดอง ปูดอง ปูไข่ดอง หากเราทานอาหารที่มีเชื้อ วิบริโอ คอเลอเร ปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรคหรือโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง ทำให้มีอาการท้องเดินอย่างมาก อุจจาระเป็นสีน้ำซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

  • ฟอร์มาลดีไฮด์ในสไบนาง

    สไบนางหรือผ้าขี้ริ้ว เป็นชิ้นส่วนของเครื่องในวัวที่มีเนื้อสัมผัสกรอบหนึบ เหมาะสำหรับทำอาหารหลายเมนู ทั้งลาบ ก้อยหรือจะนำมาต้ม ลวกแล้วทานกับน้ำจิ้มรสจัดจ้านก็เป็นที่ถูกปากของใครหลายคน ปกติเครื่องในสดจะเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน สไบนางก็เช่นกันเพราะเมื่อเก็บไว้นานจะไม่สด มีสีคล้ำ ไม่น่าทาน คนจะไม่เลือกซื้อ ถ้าจะให้คงความสดน่าทานก็ต้องใช้ตัวช่วยด้วยการแช่น้ำยาฟอร์มาลิน เพื่อให้คงสภาพความสดไว้ 

  • ยาฆ่าแมลงตกค้างในชาดอกไม้

    ชา เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่คนนิยมดื่มทั่วโลก ว่ากันว่าดื่มมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากน้ำ ส่วนใหญ่ใบชาที่เลือกใช้มาจากต้นชาหลากหลายสายพันธุ์ แต่ปัจจุบันชาจากดอกไม้นับเป็น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอีกชนิดที่ได้รับความนิยม เช่น ชากุหลาบ ชาดอกบัวหลวง ชาดอกอัญชัน ชาดอกลาเวนเดอร์ แต่ละชนิดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีสรรพคุณแตกต่างกัน เช่น กลิ่นหอมของชาดอกกุหลาบ จะช่วยในเรื่องการผ่อนคลายจากภาวะเครียด   มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูสดใส  ชาดอกอัญชันจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นของสายตา  และเป็นเครื่องดื่มเพื่อดับกระหาย

  • ฮีสตามีนในทูน่าแช่แข็ง

     ทูน่า เป็นปลาอีกชนิดที่นำมาปรุง ประกอบและทำอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งเมนูที่ทานแบบดิบ เช่น ซาซิมิ และเมนูที่ทานสุก เช่น สเต็ก หรือจะนำมาแปรรูปเป็นทูน่ากระป๋อง เช่น  ทูน่าในน้ำเกลือ น้ำมัน หรือในซอสมะเขือเทศ ก็เป็นอาหารที่คนไทยมักตุนไว้ทานในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ท่านที่ชอบทานทูน่าวันนี้คอลัมน์มันมากับอาหาร จะขอเตือนในเรื่อง อันตรายจากสารฮีสตามีนที่อาจพบในปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลาทูน่า ปลาโอแถบ ปลาโอครีบเหลืองปลาโอครีบฟ้า ปลาหลังเขียว ปลาแมกเคอเรล หอยเปาฮื้อ ฯ 

  • ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ในเห็ดเข็มทอง

    เห็ดเข็มทอง  วัตถุดิบอีกชนิดที่คนไทยนำมาปรุง ประกอบเป็นอาหารหลากหลายเมนู โดยเฉพาะใช้เป็นส่วนประกอบของเมนู หมูกระทะ ชาบู สุกี้  หรือนำมาปรุงเป็นยำ ทำเป็นลาบเห็ดเข็มทอง  หรือนำมาผัดน้ำมันหรือผัดเนย หรือพันเบคอนแล้วปิ้งย่าง  ล้วนเป็นเมนูที่คนไทยนิยมในยุคนี้ วันนี้ คอลัมน์มันมากับอาหาร ขอนำเสนอเรื่องราวของเห็ดเข็มทองที่หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่าเห็ดเข็มทองดิบ  อาจมีเชื้อก่อโรคที่ชื่อว่า  ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส  ปนเปื้อนอยู่ได้

Page: 1 of 68 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT