• ถั่วลิสงคั่วบดกับเชื้อ แบซิลลัส ซีเรียส

     ถั่วลิสง คนไทยมักนำมาต้ม ทอด อบ คั่ว บด เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารหรือทานเล่น แต่ที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร คือ ถั่วลิสงคั่วบด ที่ใช้กับเมนูผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวแห้ง ขนมจีนน้ำพริก หรือเป็นส่วนประกอบน้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มชาบูหม่าล่า น้ำจิ้มงาขาว น้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ น้ำจิ้มเปาะเปี๊ยะ น้ำจิ้มเต้าหู้ทอด และน้ำจิ้มปลาหมึกบด

  • น้ำตาลกับข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ

            ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ ช่วงนี้เป็นฤดูทุเรียนของไทย เรามักเห็นพ่อค้าแม่ค้าวางขายทุเรียนสีเหลืองสวยน่าทาน ด้วยรสชาติหวานมัน กลิ่นหอมชวนทาน ทำให้มีคนไทยไม่น้อยที่ชื่นชอบการทานทุเรียน รวมถึงข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ ทุเรียนทอด ทุเรียนกวน ข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ ขนมหวานแบบไทยๆ ที่นำเนื้อทุเรียนสุกมาฉีก แล้วเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ น้ำกะทิและเกลือป่น นำมาราดบนข้าวเหนียมมูลก่อนทาน นับเป็นเมนูที่ถูกใจสายหวานและสายทุเรียน ทว่า ในความอร่อย หอมหวานนั้นหากทานในปริมาณที่พอดี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวเพราะข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิเป็นเมนูที่มีความหวานสูง เพราะมีน้ำตาลปริมาณมาก แม้น้ำตาลจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไปและสะสมเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • เชื้อก่อโรคกับผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมู

            ผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมูกับข้าวพื้นๆที่ร้านขายข้าวแกงต้องมีติดไว้แทบทุกร้าน หรือเป็นเมนูแนะนำอยู่ในร้านอาหารตามสั่ง ผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมูมีส่วนผสมหลักคือ พริกแกงเผ็ด ถั่วฝักยาว เนื้อหมูสามชั้น เนื้อแดงหรือสันคอ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมันหอย น้ำตาล ผงปรุงรส อาจใส่ใบมะกรูดลงไปผัดด้วย ก็จะได้ผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมูที่มีสีสันน่าทาน หอมอร่อย ทว่า หากร้านไหนซื้อพริกแกงเผ็ดปรุงสำเร็จมาจากตลาด โดยไม่ได้ดูว่าพริกแกงเผ็ดนั้นทำสดใหม่ หรือเก็บไว้นานแล้ว ร้านที่ผลิตและวางขายมีสุขลักษณะการผลิตที่ดีหรือไม่ ก็อาจทำให้ได้พริกแกงเผ็ดที่มีของแถม เช่น เชื้อก่อโรค

  • ไนโตรซามีน...สารก่อมะเร็งในอาหาร

            ไนโตรซามีน หรือเอ็น-ไนโตรซามีน (N-nitrosamines : N-NAs) หลายคนคงคุ้นกับชื่อนี้มาบ้าง เพราะเป็นสารก่อมะเร็งที่พบได้ในอาหาร ไนโตรซามีน หรือเอ็น-ไนโตรซามีน เป็นกลุ่มของสารประกอบซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่มีอยู่ 10 ชนิดที่พบได้ในอาหารและเป็นสารก่อมะเร็ง ก่อการกลายพันธุ์และทำให้เกิดเนื้องอกในตับของสัตว์ทดลองคือ สาร NDMA, NMEA, NDEA, NDPA, NDBA, NMA, NSAR, NMOR, NPIP, NPYR และในจำนวนนี้มีอยู่ 2 ชนิดคือ NDMA และ NDEA ที่องค์กรวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) จัดให้เป็นสารที่น่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ (กลุ่ม 2A) อาหารชนิดที่มีโอกาสพบไนโตรซามีนได้นั้น ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีสารตั้งต้นสำคัญคือ สารไนเตรต หรือเอมีน ที่เมื่อรวมตัวกันจะก่อเป็นสารประกอบไนโตรซามีนได้

  • วิตามินซีกับเยลลี่พร้อมดื่ม

            เยลลี่พร้อมดื่ม ขนมที่เด็กๆ และวัยรุ่นนิยมทาน นอกจากมีรสอร่อย เคี้ยวเพลินเพราะมีส่วนผสมของบุกทำให้อิ่มท้องเหมาะแก่การควบคุมน้ำหนักแล้ว  เยลลี่พร้อมดื่มยังมีส่วนผสมของวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ซี อี หรือคอลลาเจน หรือโพรไบโอติก ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเสริมมาด้วย ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามรสชาติที่ชอบ และประโยชน์ที่ต้องการได้รับ เช่น  หากผสมวิตามินซี ก็จะช่วย ในเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระ สร้างคอลลาเจน ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ฟอร์มาลดีไฮด์ในปลาหมึกกรอบ

            ปลาหมึกกรอบ อาหารที่ทำจากการนำปลาหมึกกล้วยมาตากแห้ง  นำมาแช่น้ำขี้เถ้า หรือน้ำผสมผงฟู 1-2 วัน จะได้ปลาหมึกกรอบที่เนื้อแน่น จับแล้วเด้งๆ เมื่อทานจะมีความกรอบเด้ง ปลาหมึกกรอบ หาซื้อได้ง่ายตามตลาดนัด และซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป นิยมใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารหลากหลายเมนู เช่น ยำปลาหมึกกรอบ ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ สุกี้ทะเล ชาบู หมูกระทะ ทุกวันนี้ด้วยความที่ต้องการเก็บรักษาปลาหมึกกรอบให้วางขายได้นานๆ พ่อค้า แม่ค้าบางรายจึงนำปลาหมึกกรอบไปแช่ในน้ำที่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เพื่อป้องกันการเน่าเสีย

  • เนยถั่วลิสงกับแอฟลาทอกซิน

            เนยถั่ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำถั่วลิสงมาทำให้สุก ปั่นให้ละเอียดและเติมส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำตาล เกลือ เนยขาว ผสมให้เข้ากัน  นิยมทานคู่กับขนมปังเป็นอาหารเช้า อาหารว่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูรามยอนซุปเนยถั่ว มาการองเนยถั่ว คุ้กกี้เนยถั่ว สมูทตี้คุกกี้ช็อกโกแลตเนยถั่ว ทว่า วัตถุดิบหลักของเนยถั่ว คือ ถั่วลิสง เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มักพบสารพิษที่ชื่อ แอฟลาทอกซิน

  • หมูหมักกับสารบอแรกซ์

            หมูหมัก วัตถุดิบที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหาร เช่น หมูกระทะ ปิ้ง ย่าง ทอด ชาบูหรือสุกี้ยากี้วิธีการทำคือ นำเนื้อหมูสด เช่น ส่วนสันคอ สันนอก สามชั้นที่หั่นเป็นชิ้นมาหมักกับไข่ไก่ น้ำตาล ซอสหอยนางรม ซีอิ๊วขาว พริกไทย แป้งมันสำปะหลัง ผงฟูหรืออาจเติมงาขาวเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม ซึ่งจะทำให้หมู มีความนุ่มเด้ง มีกลิ่นหอมเมื่อนำมาประกอบอาหาร ปัจจุบันสามารถหาซื้อหมูหมักได้ ตามตลาดนัด ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ทั้งในรูปแบบที่บรรจุเป็นแพคและแบบตักขาย หาซื้อได้ง่าย และสะดวกต่อการนำไปประกอบอาหาร ทว่านอกจากรสชาตที่อร่อยของหมูหมักแล้ว สิ่งที่ผู้บริโภคอย่างเราชื่นชอบ คือ ความนุ่ม เด้งของหมูหมัก ทว่าในความเด้งนั้น อาจมีอันตราย

  • มะม่วงดองกับกรดซาลิซิลิค

            มะม่วงดอง อาหารว่างที่เป็นที่โปรดปรานของบรรดาสาวๆ ที่ชื่นชอบความจี๊ดจ๊าด การดอง ถือเป็นการถนอมอาหารที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงสดให้สามารถเก็บไว้ทานหรือขายได้นานขึ้น วิธีการดองมะม่วงไม่ยุ่งยากเริ่มจากนำมะม่วงดิบที่มีรสเปรี้ยวมาแช่ในน้ำเกลือและน้ำปูนใสประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำมาใส่ในภาชนะที่ปิดได้มิดชิด เทน้ำดองที่มีส่วนผสมของเกลือ น้ำเปล่า น้ำตาลให้พอท่วมมะม่วง ปิดฝา และดองไว้ประมาณ 15 วัน ก็จะได้มะม่วงดองรสชาติอร่อย เค็มตัดเปรี้ยวและกรอบกำลังดี  ถ้าเราดองเองก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากเราซื้อมาทาน เช่น ซื้อจากร้านค้าในตลาดนัด รถเข็น ร้านขายของชำและซูเปอร์มาเก็ตต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ขอเตือนให้ต้องระวัง

  • ลูกชิ้นเนื้อวัวกับ DNA หมู

            ลูกชิ้นเนื้อวัว อาหารแปรรูปจากเนื้อวัว เมนูอาหารว่างหรืออาหารมื้อยอดนิยมที่ทานแล้วอิ่มท้อง เพราะมีทั้งโปรตีนจากเนื้อวัว แป้ง และแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก สังกะสี เรามักนำลูกชิ้นเนื้อวัวไป ปิ้ง ย่าง ทอดทานคู่กับน้ำจิ้ม หรือใช้เป็นส่วนประกอบเมนู ก๋วยเตี๋ยว เกาเหลา ยำ เฝอ ข้าวผัด และผัดกระเพรา  ลูกชิ้นเนื้อวัว เป็นอาหารที่คนไทยทานได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา รวมถึงผู้บริโภคชาวมุสลิม หาซื้อได้ง่ายทั้งตามตลาดนัด รถเข็นริมทาง ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต ห้างสรรพสินค้าทั่วไป ตามชื่อแล้วลูกชิ้นเนื้อวัวควรมีแต่ส่วนผสมของเนื้อวัว ไม่ควรมีเนื้อสัตว์อื่นผสม ทว่า ในปี 2565 เคยมีข่าวการตรวจพบ DNA หมูในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นเนื้อวัวบางยี่ห้อ

Page: 1 of 68 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT