• แอฟลาทอกซินในขนมจันอับ

            ขนมจันอับหรือขนมแต้เหลี้ยว คนจีนมักทานคู่กับน้ำชาในวันมงคล เช่น การไหว้เจ้าในเทศกาลต่างๆ และงานแต่งงาน โดยเฉพาะเทศกาลตรุษจีนขนมจันอับนับเป็นขนมที่ต้องมีสำหรับไหว้เจ้า ส่วนประกอบหลักของขนมจันอับ คือ ถั่วตัด งา ข้าวพอง ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาลสีขาว-แดง และฟักเชื่อม หากผู้ผลิตใช้วัตถุดิบถั่วลิสง งา ข้าวพอง ถั่วต่างๆที่ไม่มีคุณภาพ หรือเก็บรักษาไว้ไม่ดี เช่น เก็บในที่เปียกชื้น ไม่สะอาดก่อนนำมาผลิตเป็นขนมจันอับ ก็อาจทำให้มีสารพิษจากเชื้อรา ได้แก่ แอฟลาทอกซินปนเปื้อนได้ แอฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่มักพบปนเปื้อนในเมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวสาลี ถั่วลิสง และอาหารแห้ง เช่น มะพร้าวแห้ง สมุนไพร เครื่องเทศต่างๆ

  • สารกันบูดกับไตปลาแห้ง

            ไตปลาแห้ง หนึ่งในอาหารปักษ์ใต้มีจุดเด่นที่รสชาติจัดจ้าน เผ็ดร้อนและมีสมุนไพรเป็นส่วนผสมหลัก คนใต้นิยมทานคู่กับผักสดเพื่อความอร่อยกลมกล่อม ในอดีตหากต้องการทานไตปลาก็จะต้องเดินทางไปภาคใต้หรือหาทานตามร้านอาหารปักษ์ใต้ ทว่าปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าหลายรายผลิตไตปลาแห้งครั้งละมากๆ บรรจุกระปุกหรือขวดแก้ว หรือถุงเพื่อส่งขายตามร้านอาหาร ร้านของฝากหรือหน้าร้านต่างๆในหลายจังหวัด หากผลิตเพื่อส่งขายไกลๆ ก็จะต้องเก็บรักษาไว้ได้นานด้วย ทำให้อาจมีผู้ผลิตบางรายเติมสารกันบูดลงไปในไตปลาแห้งเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ขายได้นานๆ สารกันบูดที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งสามารถยับยั้งการเติบโตของยีสต์ แบคทีเรียและเชื้อราได้ดี เหมาะใช้กับอาหารประเภทหมักดอง เครื่องแกงสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เนย ขนมอบ แยม เครื่องดื่มอัดแก๊สฯ สารกันบูดทั้ง 2 ชนิดนี้มีความเป็นพิษปานกลางถึงต่ำ ถ้าได้รับปริมาณน้อยร่างกายมีกลไกในการกำจัดความเป็นพิษที่ตับและขับออกทางปัสสาวะได้ จึงไม่สะสมในร่างกาย แต่ถ้าได้รับปริมาณสูงมาก อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เลือดตกในหรือเป็นอัมพาตได้

  • สีผสมอาหารในสายไหม

            สายไหม ของหวานทานเล่นที่ผลิตจากน้ำตาลนำมาปั่นขึ้นมาให้เป็นเส้นบางเบา ลักษณะคล้ายก้อนเมฆ รสหวาน มีหลากหลายสี สมัยก่อนมักขายตามงานวัด ปัจจุบันมีวางขายทั้งตามงานวัด ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ไปจนถึงตลาดนัดต่างๆ สายไหมสามารถทานเปล่าๆ หรือจะม้วนแล้วทานคู่กับแป้งโรตีก็ได้ แล้วแต่ความชอบ ด้วยความที่เป็นของหวานและต้องการให้มีสีสันสวยงามหลากหลาย

  • สารกันเสียในอาหารพร้อมรับประทาน

            อาหารพร้อมรับประทานหรือ Ready to Eat เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมสำหรับคนเมืองยุคนี้ เหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาปรุงอาหาร หรือเร่งรีบออกไปทำงานในช่วงเช้า หรือกลับบ้านในช่วงเย็น เพราะอาหารพร้อมรับประทาน เป็นอาหารที่ปรุงสำเร็จหรือปรุงสุกเรียบร้อยแล้วและแช่แข็งหรือแช่เย็นไว้ เมื่อเราไปซื้อคนขายก็จะนำไปเข้าไมโครเวฟเพื่ออุ่นให้ร้อนก่อนนำมาทาน ง่าย สะดวก และราคาไม่แพง ที่สำคัญมีเมนูให้เลือกหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ

  • เชื้อก่อโรคในซูชิ

            ซูชิ อาหารสัญชาติญี่ปุ่น มีที่มาจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นข้าวกับปลาชนิดต่างๆ หรืออาจมีหอย กุ้ง ไข่ หมึก สาหร่ายด้วย เพื่อให้หลากหลาย น่ารับประทานยิ่งขึ้น การทำซูชิเน้นการใช้มือในการประกอบและปั้นให้ได้รูปทรง อีกทั้งไม่ได้ผ่านความร้อนก่อนนำมาทาน ฉะนั้น หากผู้ปรุงประกอบ หรือพ่อค้า แม่ค้า ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอหรือไม่รักษาความสะอาดขณะประกอบและปั้นซูชิ อาจทำให้ซูชิมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนเชื้อก่อโรคจากมือผู้ประกอบอาหารได้ เช่น เชื้อ อี.โคไล เชื้อชนิดนี้พบในอุจจาระของคนและสัตว์เลือดอุ่น จึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหารและน้ำดื่ม

  • สารหอม 2AP ในข้าวหอมมะลิ

            ข้าวหอมมะลิไทย เป็นข้าวที่มีความนุ่ม เหนียว และกลิ่นหอม ทำให้เป็นที่นิยมทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะกลิ่นความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ช่วยทำให้อยากอาหาร และมีผลต่อราคา คุณภาพของข้าวไทยมีพันธุ์ข้าวหอมไม่ต่ำกว่า 50 พันธุ์ แต่พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของข้าวหอมมะลินั้นมาจากสารหอมระเหยที่เรียกว่า 2-Acetyl-1-Pyrroline หรือ 2AP

  • สารพิษแอฟลาทอกซินในป๊อปคอร์น

            ป๊อปคอร์นหรือที่ชาวบ้านเรียกข้าวโพดคั่ว อาหารทานเล่นที่ทำจากเมล็ดข้าวโพด สมัยก่อนนิยมขายตามงานวัด ตลาดนัด แต่สมัยนี้เป็นที่นิยมของคนที่ชอบดูหนังตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ อีกทั้งมีรสชาติที่หลากหลายหาซื้อได้ง่ายทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ ทว่า สิ่งหนึ่งที่ขอเตือนผู้ที่ชอบป๊อปคอร์น คือ อันตรายจากสารพิษที่อาจแอบแฝงมากับป๊อปคอร์น อันตรายที่ว่าคือ สารพิษแอฟลาทอกซิน ซึ่งผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus เชื้อราสองชนิดนี้ส่วนใหญ่พบอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เติบโตได้ดีในผลิตผลเกษตรแทบทุกชนิด และมักพบปนเปื้อนในเมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวสาลี ถั่วลิสง มะพร้าว สมุนไพร เครื่องเทศและผลิตภัณฑ์

  • ยาฆ่าแมลงตกค้างในองุ่นแดงสด

            องุ่นแดง ผลไม้รสหวาน ฝาดเล็กน้อยที่เปลือก แต่ก็อร่อย ชนิดที่ทานกันจนเพลินหมดพวงกันแบบไม่รู้ตัวองุ่นแดง มีสารสำคัญที่ให้ประโยชน์หลายชนิด ได้แก่ สารเรสเวอราทรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ สารซาโปนิน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเทอรอลในกระแสเลือด ป้องกันโรคหัวใจ มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี และมีสารโพลีฟีนอลช่วยลดระดับไขมันเลวและต้านอนุมูลอิสระ แถมยังมีสารแอนโทไซยานินที่ช่วยชะลอความแก่ ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอีกด้วย

  • สีผสมอาหารในไข่กุ้ง

           ปัจจุบันทุกย่านการค้า ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สตรีทฟู้ด ล้วนต้องมีร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านซูชิ แทบทุกร้านต้องมีเมนูที่มีไข่กุ้งเป็นส่วนประกอบ เช่น ซูชิหน้าไข่กุ้ง แคลิฟอร์เนียโรล ข้าวหน้าไข่กุ้ง ไข่กุ้งที่ขายในบ้านเรานั้นไม่ได้ทำมาจากไข่กุ้ง ทว่าทำมาจากไข่ของปลาบินที่มีสีส้มแดง หรือไข่ของปลาไข่ที่มีสีส้มซีด ผู้ผลิตหรือผู้ขายบางรายอาจย้อมสีอื่นๆ เพื่อให้ไข่กุ้งดึงดูดใจผู้บริโภค หากย้อมสีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากวาซาบิ สีดำจากหมึกของปลาหมึก ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ ขอให้ระวังอันตรายกันนิด แม้ตามกฎหมายของไทยจะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่หากใช้ปริมาณมากเกินไป หรือเกินที่กฎหมายกำหนดจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบดูดซึมอาหาร ทำลายระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมเป็นระยะเวลานาน อาจทำร้ายตับและไต

  • พาราควอตในน้ำตาลทราย

            น้ำตาลทราย เครื่องปรุงที่ให้รสหวานคู่ครัวไทยมานานทั้งอาหารคาวหวานต้องปรุงรสด้วยน้ำตาลไม่มากก็น้อย น้ำตาลทรายผลิตมาจากอ้อย ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรนิยมใช้สารพาราควอต ที่มีชื่อทางการค้าว่า “กรัมม็อกโซน” กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย หากเกษตรกรใช้ในปริมาณมากๆ อาจทำให้สารพาราควอตตกค้างในอ้อย และอาจตกค้างอยู่ในน้ำตาลด้วยได้ รวมทั้งตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า พาราควอตเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากได้รับเข้าสู่ร่างกายทางปากจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน เกิดแผลในหลอดลมและระบบทางเดินอาหาร ที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง พาราควอตยังเข้าสู่ร่างกายเกษตรกรที่ใช้จากการสัมผัสผิวหนังและสูดดม พาราควอตเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อม กว่า 50 ประเทศทั่วโลก จึงสั่งห้ามใช้สารชนิดนี้รวมถึงประเทศไทยของเราที่แบนการใช้พาราควอตมาตั้งแต่ปี 2564 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค เกษตรกร และปกป้องสิ่งแวดล้อม

Page: 1 of 66 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT