• แคดเมียมในหมึกแห้ง

            หมึกแห้ง หนึ่งในอาหารทะเลยอดนิยมของคนเอเชีย ซื้อหาง่ายตามซุปเปอร์มาร์เกตไปจนถึงร้านรวงในตลาด หมึกแห้งจัดเป็นการถนอมอาหารด้วยการตากแห้ง ก่อนจะนำไปประกอบอาหารทว่า อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยและหมึกมักพบโลหะหนักที่เป็นอันตราย เช่น แคดเมียมปนเปื้อน เมื่อเราทานอาหารที่มีแคดเมียมปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย แคดเมียมจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร แล้วลําเลียงไปตามกระแสเลือด สะสมตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงตับและไต หากได้รับในปริมาณมากๆจะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ถ่ายเหลว และอาจมีภาวะเลือดปนออกมา เนื่องจากเกิดการระคายเคืองและอักเสบของอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร หากมีอาการรุนแรงอาจช็อก เนื่องจากขาดน้ำและไตวายเฉียบพลันได้ แต่หากร่างกายได้รับแคดเมียมปริมาณน้อยๆ เป็นระยะเวลานานจะเกิดการสะสมในกระดูก อาจเป็นโรคอิไตอิไตทำให้กระดูกเปราะ หักง่ายได้ 

  • สีผสมอาหารกับเยลลี่

            เยลลี่ ขนมที่ได้รับความนิยมทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เยลลี่ทำจากน้ำผลไม้หรือน้ำผลไม้เข้มข้น เช่น สับปะรด กระเจี๊ยบ สตรอว์เบอร์รี มะนาว ส้ม มะม่วง นำมาผสมกับน้ำตาล สารทำให้เกิดเจล อาจผสมสี แต่งกลิ่น รส เพื่อดึงดูดความสนใจ สีผสมอาหารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้มี 2 ประเภท คือ สีธรรมชาติและสีสังเคราะห์ โดยกำหนดชนิดอาหารและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้แตกต่างกันไป แต่สีที่ผู้ผลิตนิยมใช้ คือ สีสังเคราะห์ เพราะมีราคาถูกกว่า ให้สีสดและสม่ำเสมอกว่า สะดวกต่อการใช้กับอาหาร ปกติสีสังเคราะห์ที่เราทานเข้าไปหากได้รับปริมาณไม่มาก ร่างกายจะกำจัดออกโดยการขับถ่าย แต่หากผู้ผลิตใช้ในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เพราะสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่มีโลหะหนักปะปนอยู่ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย มันจะไปเกาะตัวตามผนังกระเพาะ ทำให้เกิดปัญหากับระบบดูดซึมอาหาร ระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมมากๆเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อตับ ไตได้

  • โซเดียมในน้ำพริกกะปิ

            น้ำพริกกะปิเมนูคู่ครัวไทยมาช้านาน เพราะด้วยรสชาติที่จัดจ้านตามสไตล์อาหารไทย คนไทยจึงนิยมทานน้ำพริกกะปิคู่กับผักสด ผักลวก ปลาทูทอด ไข่ชะอมทอด พร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ วัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำพริกกะปิ มีทั้งพริก กระเทียม หัวหอม กะปิ น้ำปลา น้ำมะนาว กุ้งแห้ง ฯลฯ ส่วนผสมข้างต้นแม้จะทำให้น้ำพริกกะปิมีรสชาติอร่อย แต่สิ่งที่ขอเตือนท่านที่ชื่นชอบน้ำพริกกะปิให้ระวัง คือโซเดียมที่มีในน้ำพริกกะปิ ที่มาจากวัตถุดิบบางชนิด เช่น กะปิ น้ำปลา โดยในกะปิ 100 กรัม พบมีโซเดียมสูงถึง 5,205 มิลลิกรัม

  • หมูย่างปลาร้ากับเชื้อก่อโรค

            หมูย่างปลาร้าหรือหมูปลาร้า อาหารว่างที่เริ่มนิยมในปัจจุบันเพราะรสชาติถูกปากคนไทย หาซื้อง่าย และสะดวกในการทาน โดยราดน้ำจิ้มที่มีส่วนผสมของปลาร้าหรือแจ่วบนหมูที่ย่างแล้ว มักทานพร้อมผักสดๆ และข้าวเหนียวเพื่อเพิ่มความอร่อยกลมกล่อม ทว่าท่านที่ชื่นชอบหมูย่างปลาร้าจิ้มแจ่ว อาจต้องระวังอันตรายจากเชื้อก่อโรคไว้สักนิด เช่น เชื้อซาลโมเนลลา เพราะแม้หมูย่างจะผ่านการให้ความร้อนจนสุกแล้ว แต่หากพ่อค้าแม่ค้าไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอ หรือภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาดอาจทำให้เชื้อนี้ปนเปื้อนในหมูย่างได้ ที่สำคัญหากปลาร้าหรือน้ำปลาร้าที่ใช้เป็นส่วนผสมน้ำจิ้มแจ่วไม่ต้มให้สุกก่อนผสมก็อาจทำให้มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนได้ เชื้อ ซาลโมเนลลา มักพบปนเปื้อนในอาหารจำพวกเนื้อไก่ ไข่ นม ผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ได้ผ่านความร้อนอย่างเพียงพอ อาหารสุกๆ ดิบๆ หากเราได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น และอ่อนเพลีย

  • แอฟลาทอกซินกับน้ำจิ้มลูกชิ้น

            วัฒนธรรมการกินของคนไทยจะทานลูกชิ้นทอด ปิ้ง ย่าง คู่กับน้ำจิ้มเพื่อเพิ่มรสชาติและความอร่อย น้ำจิ้มลูกชิ้นมีสูตรและรสชาติที่หลากหลาย เช่น น้ำจิ้มพริกป่น น้ำจิ้มพริกเผา น้ำจิ้มมะขามเปียกพริกสด หรือพริกแห้ง น้ำจิ้มลูกชิ้นส่วนใหญ่มีส่วนผสมของพริกแห้ง พริกป่น ถั่วลิสง เครื่องเทศต่างๆ หากพ่อค้า แม่ค้าเลือกใช้พริกแห้ง หรือพริกป่น หรือถั่วลิสงที่ไม่สะอาด มีเชื้อราขึ้น อาจมีความเสี่ยง ที่จะปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา เช่น แอฟลาทอกซิน ได้ สารพิษชนิดนี้ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus มักพบในเมล็ดธัญชาติ ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ถั่วลิสง พริกแห้ง มะพร้าว สมุนไพร และเครื่องเทศ

  • เชื้อก่อโรคกับปลาแซลมอนแล่

            ปลาแซลมอน อาหารอีกชนิดที่กำลังเป็นที่นิยมของคนไทยโดยเฉพาะเมนูสัญชาติญี่ปุ่น เช่น แซลมอนซาชิมิที่นำเนื้อแซลมอนดิบมาแล่เป็นชิ้นเล็กๆ ทานคู่โชยุและเครื่องเคียง เช่น ขิงดอง หัวไชเท้าขูด วาซาบิ หรือเมนูสเต๊กปลาแซลมอน ปลาแซลม่อนย่างที่ทานคู่กับข้าวและซุปมิโซะ ด้วยความเป็นที่นิยม เราจึงหาซื้อปลาแซลมอนแล่ดิบแพ็กถุงขายได้ตามห้างสรรพสินค้าและตลาดสดทั่วไปหากเรานำมาปรุงเป็นเมนูสุกก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ท่านที่ชอบทานดิบๆ สไตล์อาหารญี่ปุ่น ขอเตือนว่าอาจต้องระวังเชื้อโรคกันสักนิด เช่น เชื้อ อี.โคไล เชื้อที่เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหาร เชื้อนี้มักพบปนเปื้อนในอาหารที่ปรุงไม่สุก อาหารดิบ อาหารปรุงสุกค้างคืน ผักผลไม้ที่ล้างไม่สะอาด หากเราทานอาหารที่มีเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนจำนวนมากๆ จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษ แต่อาการท้องเสียส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 1-2 วัน เชื้อชนิดนี้ไม่ทนความร้อน

  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในหน่อไม้จีน

            หน่อไม้จีน หน่ออ่อนของต้นไผ่ มีสีเหลืองอ่อนๆ มักหั่นเป็นแว่นๆ ก่อนนำมาทำอาหาร ทั้งนึ่ง ต้ม ผัด หน่อไม้มีฤทธิ์เย็น มีรสหวาน ดับร้อน ละลายเสมหะ ดับกระหายและบำรุงตับ ทว่าสีของหน่อไม้จะคล้ำง่าย แลดูไม่น่าทาน ผู้ขายบางรายอาจมีการใส่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือกำมะถัน ลงไปเพื่อยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล หรือสีคล้ำ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์นิยมใช้ในอาหารเป็นสารกันเสีย เพราะมีประสิทธิภาพสูงในการถนอมอาหาร สามารถยับยั้งการเติบโตของยีสต์ รา แบคทีเรีย และใช้ยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลของผัก ที่สำคัญมีราคาถูก ใช้งานง่าย ใช้ได้กับอาหารหลายประเภท ทั้งผักผลไม้แห้ง ดอง แช่อิ่ม กวน แยม ถั่วกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง เห็ดกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่ม เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ฯลฯ

  • ไส้กรอกอีสานกับเชื้อก่อโรค

            ไส้กรอกอีสาน อาหารพื้นบ้านไทยที่ทำจากเนื้อหมู มันหมู ข้าวสุก ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรส เครื่องเทศ สมุนไพร เช่น น้ำตาลทราย เกลือ กระเทียมบด พริกไทย ลูกผักชี ผสมให้เข้ากัน นวดจนเหนียว บรรจุในไส้หมูหรือไส้ชนิดอื่นมัดเป็นท่อน ผึ่งไว้ในที่สะอาดและแห้งเพื่อให้เกิดการหมักจนเปรี้ยว เพียงเท่านี้ก็ได้ไส้กรอกอีสานที่มีรสเปรี้ยว อร่อยถูกปากคนไทย ทว่ากรรมวิธีการทำไส้กรอกอีสานต้องสัมผัสกับมือของผู้ผลิตผู้ปรุงทั้งในขั้นตอนการผสมและการบรรจุในไส้ ซึ่งหากผู้ผลิต ผู้ปรุงไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดี ก็อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในไส้กรอกอีสานได้ เช่น เชื้อสแตปฟิโลค็อคคัส ออเรียส ปกติเชื้อชนิดนี้อาศัยอยู่ในฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย เส้นผม ผิวหนังคน โดยทั่วไปพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหารที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากไข่ ผลิตภัณฑ์นม อาหารที่เก็บไว้เป็นเวลานานก่อนทาน และอาหารที่มีการสัมผัสมือคนมากๆ เมื่อเชื้อ สแตปฟิโลค็อคคัส ออเรียส เข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย รายที่รุนแรงจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตเปลี่ยน แปลง เชื้อชนิดนี้สามารถป้องกันได้โดยผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอเช่น ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว และรักษาความสะอาดของภาชนะ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้

  • สารกันบูดกับหมูยอ

            หมูยอ อาหารสัญชาติเวียดนาม ที่กลายมาเป็นอาหารยอดนิยม และเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อในแถบภาคอีสานและภาคเหนือของเมืองไทย กรรมวิธีการทำหมูยอเริ่มจากนำเนื้อหมูที่บดแล้วมาเติม ผงปรุงรส เครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติ แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง และทำให้สุกด้วยการนึ่งหรือต้ม หากทำทานเองในครอบครัวหรือหมู่ญาติพี่น้องอาจไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะมั่นใจได้ถึงความสะอาด ปลอดภัย ทว่าหากซื้อหมูยอจากท้องตลาด สิ่งหนึ่งที่จะขอเตือนคือ อันตรายจากสารกันบูด ที่ผู้ผลิตบางรายอาจเติมลงไปในหมูยอ เพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ขายได้นานๆ สารกันบูดที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารมี 2 ชนิดคือ กรดเบนโซอิกที่สามารถยับยั้งการเติบโตของยีสต์และแบคทีเรียได้ดี และกรดซอร์บิกที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งเชื้อราและยีสต์ อีกทั้ง มีความเป็นพิษน้อยและกฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ ตามชนิดและปริมาณที่กำหนด

  • แอฟลาทอกซินในกระเทียม

            กระเทียม คนไทยนำมาใช้เป็นทั้งเครื่องเทศในการประกอบอาหาร หรือใช้เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาโรค เพราะกระเทียมสามารถป้องกันทั้งโรคหัวใจหลอดเลือด รักษาโรคกลากเกลื้อน บรรเทาอาการคัดจมูก และลดอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยแอฟลาทอกซิน สารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus ที่มักพบปนเปื้อนในผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงกระเทียม เชื้อราทั้งสองชนิดเติบโตได้ทุกสถานการณ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนส่ง จึงทำให้สารพิษแอฟลาทอกซินอาจปนเปื้อนอยู่ในผลิตผลเกษตร และผลิตภัณฑ์ได้

Page: 1 of 66 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT