ที่มา/ความสำคัญของโครงการ
หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยส่งเสริมและพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมและที่มีศักยภาพในการขยายตัวเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมโดยลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559) ได้มุ่งเน้นการบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดมลพิษ เพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบการจัดการของเสียจากกระบวนการผลิต ลดความเสี่ยงอุบัติภัยของการรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย พัฒนาระบบเตือนภัย และแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินต่อชุมชน โดยปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศและพฤติกรรมการบริโภค ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก พัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมพร้อมไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ ๑๕ จังหวัด
โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๒.๒ เพื่อดำเนินการยกระดับพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้นแบบ
ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธ์ศาสตร์
3.๑ นโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
นโยบายที่ ๗.๖
พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเริ่มจากการพัฒนาด่านการค้าชายแดนและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตูการค้าหลักของประเทศ
นโยบายที่ ๙.๕
เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน้ำเสีย ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถโครงสร้าง
พื้นฐาน และการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
3.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ในกลยุทธ์การพัฒนาฐานการผลิต/ลงทุนตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน
3.๓ ยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรมที่ ๒ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรม (แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม ๒๕๕๙-๒๕๖๔)
3.๔ ยุทธศาสตร์กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ ๑ การบริหารจัดการให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย
๔.๑ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และภาคประชาชน
๔.๒ พื้นที่ศึกษาจัดทำแผนแม่บทพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ๑๕ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย จังหวัด ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี นครปฐม ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา และสุราษฎร์ธานี
๔.๓ พื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรม ในจังหวัดระยอง ปราจีนบุรี ชลบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ขอบเขตการดำเนินงาน
๕.๑ เสนอกรอบแนวคิดวิธีการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากร แผนการเตรียมความพร้อมของที่ปรึกษา และการบริหารงาน แผนการประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งขั้นตอนการดำเนินงานโครงการที่ระบุรายละเอียดและระยะเวลาที่ครอบคลุมกิจกรรมภายใต้โครงการ
๕.๒ ศึกษาวิเคราะห์แผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศทั้ง ๑๕ จังหวัดเพื่อจัดทำร่างแผนปฏิบัติการที่มีโครงสร้างองค์ประกอบตามหลักวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับแผนแม่บทพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
๕.๓ ประสานกรมโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศหรือหน่วยงาน/คณะทำงานระดับจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ ๒ ครั้ง เพื่อเป็นการพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างแผนปฏิบัติการ
๕.๔ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมายของทั้ง ๑๕ จังหวัด จังหวัดละ ๑ ครั้งๆ ละไม่น้อยกว่า 5๐ คน พร้อมรวบรวมและวิเคราะห์แผนปฏิบัติการของแต่ละจังหวัด เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือหน่วยงาน/คณะทำงานระดับจังหวัด
๕.๕ การศึกษาและรวบรวมข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 1 พื้นที่ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลความสอดคล้องตามกฎหมาย พร้อมจัดทำสมดุลมวล (Mass Balance) เช่น วัตถุดิบ พลังงาน น้ำ กากของเสีย ฯลฯ รวมถึงฐานข้อมูลโรงงานในพื้นที่เป้าหมายที่ยังไม่มีกิจกรรมด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หรือ ยังไม่ได้รับการรับรองด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DIW) โดยต้องจัดทำฐานข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ อย่างน้อย 1 พื้นที่ ไม่น้อยกว่า 30 โรงงาน โดยนำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับเป็นพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้นแบบ
๕.๖ นำแนวทางการพัฒนาที่ได้จากข้อ ๕.๕ ไปดำเนินการเพื่อยกระดับพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้เข้าสู่พื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตามตัวชี้วัดระดับ 2 ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม อย่างน้อยจำนวน ๑ พื้นที่ (ทั้งนี้ต้องเป็นพื้นที่ ที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการพัฒนามาก่อน) โดยดำเนินการพัฒนา ให้องค์ความรู้แก่โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้มีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยหรือ CSR-DIW หรือเครื่องมือ (Tools) อื่นๆ ตามความเหมาะสม ประกอบด้วย
๑) จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่/ผู้ประกอบการโรงงานในพื้นที่เป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 3๐ โรงงาน พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรมในสถานที่ที่เหมาะสม
๒) จัดศึกษาดูงานโรงงานต้นแบบให้ครอบคลุมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อสังคม ให้แก่โรงงานในพื้นที่เป้าหมาย
ไม่น้อยกว่า 30 โรงงาน
๓) ให้คำปรึกษาเชิงลึกกับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการรวมไม่น้อยกว่า 60 คน-วัน (man-day)
พร้อมจัดทำรายงานผลการให้คำปรึกษา
๕.๗ การจัดทำรายงานผลการยกระดับพื้นที่อุตสาหกรรมต้นแบบ โดยแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนถึงการพัฒนาเข้าสู่พื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตามตัวชี้วัดในระดับที่ 2 ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 100 เล่ม และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์
๖.๑ ผลผลิต (Output)
๑) แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในพื้นที่ ๑๕ จังหวัด
โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
๒) กระบวนการต้นแบบในการยกระดับพื้นที่อุตสาหกรรมให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 1 กระบวนงาน
๖.๒ ผลลัพธ์ (Outcome)
๑) การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) มีกรอบทิศทางและทรัพยากรในการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ
๒) การขยายกระบวนการต้นแบบไปสู่พื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอื่นๆ
แผนการดำเนินงาน
-
ทดสอบแก้ไข