สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ส่งท้ายปี 2561 กับการเลือกทานอาหารอย่างปลอดภัย

                       ส่งท้ายปี 2561 กับการเลือกทานอาหารอย่างปลอดภัย

ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2561 คอลัมน์มันมากับอาหารได้ลงเผยแพร่

บทความที่แสดงผลการวิเคราะห์สารเคมี  สารพิษ  เชื้อก่อโรค ที่ตกค้างและปนเปื้อนในอาหาร

รวมถึงผลวิเคราะห์สารอาหารชนิดต่างๆ ในตัวอย่างอาหารที่สถาบันอาหารสุ่มเก็บจากร้านค้าในตลาดสด

ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า หาบเร่  แผงลอยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กว่า 46 ชนิด

ผลการวิเคราะห์ที่ได้มีทั้ง ตรวจไม่พบสารเคมีหรือสารพิษตกค้าง  หรือไม่พบเชื้อก่อโรคปนเปื้อน  

หรือพบแต่ยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  หรือพบเกินเกณฑ์มาตรฐานของประกาศกระทรวงสาธารณสุขไทย

หรือเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของปี 2561 นี้ คอลัมน์มันมากับอาหาร ขอส่งท้ายปีเก่าด้วยการนำเสนอ

ผลการวิเคราะห์แบบเน้นๆ เฉพาะชนิดอาหารที่ในช่วง  1 ปีที่ผ่านมา สถาบันอาหารตรวจพบว่า

มีสารเคมีหรือสารพิษตกค้าง หรือมีเชื้อก่อโรคปนเปื้อน เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนด

โดยสัปดาห์นี้ขอเริ่มจาก อาหารที่ตรวจพบสารเคมี หรือสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานกำหนด

ซึ่งมีทั้งอาหารพร้อมทาน ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม ผักดองและน้ำผักดอง  โดยตรวจพบ

กรดเบนโซอิก (สารกันบูด) เกินเกณฑ์มาตรฐาน  8 ตัวอย่าง  ทุเรียนกวนพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์

เกินเกณฑ์มาตรฐาน  4 ตัวอย่าง  ขิงแห้ง พบตะกั่วปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐาน  1 ตัวอย่าง

และของสด ได้แก่ กระชายฝอยและสามสิบกลีบ พบฟอร์มาลดีไฮด์เกินเกณฑ์มาตรฐาน  5 ตัวอย่าง

ใบกุยช่ายและส้มสายน้ำผึ้ง พบยาฆ่าแมลงตกค้างเกินเกณฑ์มาตรฐาน  5 ตัวอย่าง

เห็นผลการวิเคราะห์เน้นๆ อย่างนี้แล้ว  ขอเตือนทุกท่านว่าตั้งแต่นี้ไป ควรเพิ่มความระมัดระวัง

ในการเลือกซื้อ เลือกทานอาหารเหล่านี้ให้มาก ไม่ควรทานบ่อยครั้ง เพื่อความปลอดภัยในระยะยาว///

                        ผลวิเคราะห์สารเคมีและสารพิษตกค้างในตัวอย่างอาหาร

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

รายการวิเคราะห์

ผลการวิเคราะห์

พบเกินมาตรฐาน (ตัวอย่าง)

ไม่พบ

(ตัวอย่าง)

พบ

(ตัวอย่าง)

น้ำพริกหนุ่ม 5 ตัวอย่าง

กรดเบนโซอิก

1

4

4

ผักดอง 5 ตัวอย่าง

กรดเบนโซอิก

1

4

2

น้ำดองผัก 5 ตัวอย่าง

กรดเบนโซอิก

1

4

2

ทุเรียนกวน 5 ตัวอย่าง

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

 -

5

4

กระชายฝอย 5 ตัวอย่าง

ฟอร์มาลดีไฮด์

4

1

1

สามสิบกลีบ 5 ตัวอย่าง

ฟอร์มาลดีไฮด์

1

4

4

ใบกุยช่าย 5 ตัวอย่าง

ยาฆ่าแมลง

-

5

4

ส้มสายน้ำผึ้ง 5 ตัวอย่าง

ยาฆ่าแมลง

1

4

1

ขิงแห้ง 5 ตัวอย่าง

ตะกั่ว

-

5

1

         ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

         โทร. 02 422 8688  หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins