สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ตะกั่วในขิงแห้ง

                                                 ตะกั่วในขิงแห้ง

หากนึกถึงผักและสมุนไพรไทยที่มีกลิ่นฉุน มีรสหวานและรสชาติเผ็ดร้อนเฉพาะตัว

หลายคนคงนึกถึงขิง คนไทยนำขิงมาใช้ประกอบอาหารหลากหลายชนิดทั้งของคาว ของหวาน

และเครื่องดื่ม ด้วยความเผ็ดร้อนของขิงหลายคนอาจเขี่ยทิ้งเมื่อทานอาหารที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ

แต่หารู้ไม่ว่าพลาดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากการทานขิง

เพราะขิงมีคุณประโยชน์ช่วยแก้นอนไม่หลับ แก้ลมพานไส้ แก้ลมแน่นในทรวง แก้ลมเสียดแทง

ลมวิงเวียน ลมคลื่นเหียน แก้เสมหะ ช่วยขับลมและแก้จุกเสียด         

ทว่าขิงเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน  ฉะนั้นหากดินบริเวณที่เพาะปลูกมีสารเคมี สารพิษ

หรือโลหะหนัก เช่น ตะกั่วปนเปื้อน อาจทำให้ตะกั่วถูกดูดซึมเข้าสู่เหง้าขิง และปนเปื้อนในขิงได้

เมื่อเรานำขิงมาประกอบอาหารอาจทำให้ได้รับตะกั่วที่ปนเปื้อนในขิงเข้าสู่ร่างกาย

และเป็นอันตรายได้ อาการพิษเรื้อรังที่พบบ่อย คือ อาการของระบบย่อยอาหาร

จะเกิดการปวดท้อง น้ำหนัก ลด เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก

อาการพิษทางประสาท และสมอง ทําให้ทรงตัวไม่อยู่ ประสาทหลอน ซึม ไม่รู้สึกตัว ชัก มือ

และเท้าตก เป็นอัมพาตและสลบได้

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างขิงแห้งจำนวน  5 ตัวอย่าง จาก 2 ร้านค้า และ 3 ยี่ห้อ

ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ตะกั่วปนเปื้อน

ผลปรากฏว่าพบสารตะกั่วปนเปื้อนในขิงแห้งทั้ง  5 ตัวอย่าง โดยพบปนเปื้อนอยู่ในช่วง

0.33 – 4.03 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ซึ่งมีอยู่ 1 ตัวอย่างที่พบเกินค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) ที่กำหนดให้อาหารพบสารตะกั่วปนเปื้อน

ได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร  1  กิโลกรัม  เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว

เห็นทีท่านที่ชื่นชอบขิงคงต้องเพลาๆ กันไว้บ้าง หากเป็นไปได้ควรเลือกซื้อจากร้านที่มั่นใจได้ว่า

ปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ ปนเปื้อน หรือเลือกซื้อยี่ห้อที่มีเครื่องหมายด้านความปลอดภัย

จากหน่วยงานภาครัฐการันตี เป็นดีที่สุด///

ผลวิเคราะห์ตะกั่วในขิงแห้ง

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

ตะกั่ว

(มิลลิกรัม/ กิโลกรัม)

ขิงแห้ง ร้าน 1 ย่านภาษีเจริญ

0.50

ขิงแห้ง ยี่ห้อ 1

0.33

ขิงแห้ง ยี่ห้อ 2

4.03

ขิงแห้ง ยี่ห้อ 3

0.78

ขิงแห้ง ร้าน 2 ย่านเยาวราช

0.84

 

    วันที่วิเคราะห์ 5 - 8 ต.ค. 2561   วิธีวิเคราะห์ In-house method T9166 based on AOAC(2012) 999.10

    ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย  สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

    โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins