ปริมาณโซเดียมในซอสพริกและซอสมะเขือเทศ
การเจ็บไข้ได้ป่วย หรือโรคต่างๆ ที่รุมเร้าเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่มีสาเหตุ และต้นเหตุ
มาจากสุขลักษณะนิสัยส่วนบุคคล การกิน อยู่ หลับ นอน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่จะส่งผล
กระตุ้นให้เกิดโรคร้ายหลายชนิดซึ่งเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติทั้งเรื่องงบประมาณด้านการสาธารณสุข
การศึกษาที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องขบคิดและหาวิธีป้องกัน ถ้าหากป้องกันไม่ได้ก็ควรให้ความรู้เพิ่มเติม
อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายในการนำไปเสริมสร้างการเจริญเติบโต
และในทางกลับกันอาหารก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เข้ามากระตุ้น
ทำให้เกิดโรคทั้งการมีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์ หรือสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร
นอกจากนี้ยังมีวัตถุเจือปนในอาหารบางชนิดที่หากมีอยู่ในร่างกายในปริมาณมากจะส่งผลเสีย
ต่อร่างกายในระยะยาว เช่น โซเดียม โซเดียมคือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่ง
ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย
รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ
(รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็ก
โซเดียมที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็คือโซเดียมที่อยู่ในรูปของ "เกลือแกง" และน้ำปลา ซึ่งมีรสเค็ม
อาหารทุกชนิดมีส่วนประกอบของโซเดียมในปริมาณที่ต่างกันแบบปรุงสำเร็จก็จะมีปริมาณบอก
แต่ถ้าเป็นอาหารแบบที่ต้องเติมรสชาติตามความต้องการก็จะเพิ่มปริมาณเข้าไปอีก
เรากินอาหาร 3 มื้อ เติมทุกมื้อ ปริมาณของโซเดียมในร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ข้อมูลสำคัญคือ ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายต้องการคือ ไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน
เทียบเท่าเพียงเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา เท่านั้น
เกินกว่านี้หากร่างกายขับออกไม่หมด หรือสะสมในร่างกายนานจะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา
ทั้งไต หัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น วันนี้สถาบันอาหาร จึงทำการสุ่มตัวอย่างอาหารใกล้ตัว
เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของโซเดียมที่มีผสมอยู่ในซอสพริกและซอสมะเขือเทศ
ผลที่ได้น่าตกใจมากเพราะทุกตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมในปริมาณสูง
หากหลีกเลี่ยงที่จะรับประทานไม่ได้ ควรรับประทานแต่น้อย หรือรับประทานอาหารชนิดอื่นแทน
ผลวิเคราะห์ปริมาณ โซเดียม ในซอสพริกและซอสมะเขือเทศ
ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ |
โซเดียม |
(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) |
|
ซอสพริก ยี่ห้อ 1 |
14,860.01 |
ซอสพริก ยี่ห้อ 2 |
9,797.78 |
ซอสพริก ยี่ห้อ 3 |
27,271.45 |
ซอสมะเขือเทศ ยี่ห้อ 4 |
8,875.18 |
ซอสมะเขือเทศ ยี่ห้อ 5 |
11,090.00 |
วันที่วิเคราะห์ 20 - 25 ต.ค. 2560 วิธีวิเคราะห์ In-house method T9125 based on AOAC(2012) 984.27
ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/