เชื้อก่อโรคกับ...ไข่เยี่ยวม้า
ไข่เยี่ยวม้า ผลผลิตจากการนำไข่สด เช่นไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา มาถนอมให้เป็นอาหาร
ที่สามารถเก็บรักษาไว้ทานได้นานๆ เหมือนกับการทำไข่เค็มที่นำไปดองเกลือ
แต่ไข่เยี่ยวม้า จะนำไข่มาพอกด้วยปูนขาวผสมใบชา เกลือป่น และขี้เถ้าที่นวดด้วยน้ำเย็นหรือ
นำไปแช่ในน้ำที่มีส่วนผสมของปูนขาว เกลือ โซดาแอช ชาดำ และสังกะสีออกไซด์
ในการผลิตไข่เยี่ยวม้า นอกจากอาจพบการปนเปื้อนตะกั่วแล้ว
หากวัตถุดิบที่ใช้ไม่สะอาด หรือระหว่างการผลิตผู้ผลิตไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอ
เช่น เข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ หรือไอ จามโดยไม่ปิดปาก อาจทำให้พบเชื้อก่อโรคปนเปื้อนในไข่เยี่ยวม้าได้
เช่น คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ และ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส
เชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ พบได้ในลำไส้คนและสัตว์ ดิน น้ำเค็ม น้ำจืดไม่มีอากาศ
อันตรายของมันคือ ทำให้เกิดโรคอาหารพิษ ที่มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องร่วง แต่ไม่อาเจียน
ส่วนเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส พบได้ในอากาศ ฝุ่น ขยะมูลฝอย น้ำ และอาหารจำพวกเนื้อสัตว์
สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากไข่ นม คนก็มักเป็นแหล่งของเชื้อชนิดนี้ โดยจะพบอยู่ตามทางเดินหายใจ
ลําคอ เส้นผมและผิวหนัง เชื้อชนิดนี้เมื่อปนเปื้อนอยู่ในอาหารแล้วและหากเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิ
ไม่เหมาะสมจะทำให้เชื้อเพิ่มจํานวนขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างสารพิษปนเปื้อนลงในอาหารได้
เมื่อเราทานอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนจะทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ปวดหัว เป็นตะคริวในช่องท้องหรือกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างไข่เยี่ยวม้า จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 4 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ
เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ และ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อน
ผลปรากฎว่าทุกตัวอย่างพบเชื้อปนเปื้อน แต่พบในปริมาณน้อยมาก ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย ///
ผลวิเคราะห์เชื้อก่อโรคในไข่เยี่ยวม้า
ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ |
คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (ซีเอฟยู/ กรัม) |
สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (ซีเอฟยู/ กรัม) |
ไข่เยี่ยวม้าร้าน 1 ย่านบึงกุ่ม |
น้อยกว่า 10 |
น้อยกว่า 10 |
ไข่เยี่ยวม้าร้าน 2 ย่านพรานนก |
น้อยกว่า 10 |
น้อยกว่า 10 |
ไข่เยี่ยวม้าร้าน 3 ย่านบางขุนศรี |
น้อยกว่า 10 |
น้อยกว่า 10 |
ไข่เยี่ยวม้า ยี่ห้อ 1 |
น้อยกว่า 10 |
น้อยกว่า 10 |
ไข่เยี่ยวม้าร้าน 4 ย่านนนทบุรี |
น้อยกว่า 10 |
น้อยกว่า 10 |
วันที่วิเคราะห์ 6-7 พ.ย. 2560 วิธีวิเคราะห์ FDA-BAM Online, 2001 (Chapter 16),
FDA-BAM Online, 2001 (Chapter 12) ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/