เชื้อก่อโรคกับน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ
ในร่างกายคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 70% แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่อยู่ในเซลล์ 60%
น้ำที่อยู่นอกเซลล์ประมาณ 30 % และน้ำที่อยู่ในเนื้อเยื่อหรือเลือด 10%
ทำให้คนเราต้องการน้ำวันละ 8 แก้วต่อวัน น้ำมีหน้าที่ช่วยย่อยอาหาร ละลายสารอาหารและออกซิเจน
ทำให้เลือดไหลเวียน ช่วยละลายสารพิษ และขับออกจากร่างกายทางปัสสวะ
ปัจจุบันน้ำดื่มที่เราเห็นมีวางขายหลายรูปแบบ หลายขนาด และหลายสถานที่
ผู้บริโภคเลือกซื้อกันได้ตามสะดวก ทั้งแบบบรรจุขวด แบบตู้กด ตู้หยอดเหรีญสาธารณะ
ทุกที่ต้องเป็นน้ำดื่มที่สะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เชื้อก่อโรค
และ แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท สารหนู ซึ่งเป็นโลหะหนักที่เป็นพิษ
เชื้อก่อโรคที่อาจพบปนเปื้อนในน้ำดื่มจากตู้กด ตู้หยอดเหรีญสาธารณะได้แก่ อี. โคไล,
สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส, ซาลโมเนลลา และ คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์
หากเราดื่มน้ำที่มีเชื้อก่อโรคข้างต้นปนเปื้อนจะส่งผลเสียต่อร่างกายคือ ทำให้ท้องร่วง ท้องเดิน
ปวดศรีษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนและอ่อนเพลีย
ส่วนโคลิฟอร์ม เป็นเชื้อที่บ่งชี้ถึงความไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะของการผลิต
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญสาธารณะ จำนวน 5 ตัวอย่าง
จาก 5 ย่านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของโคลิฟอร์ม
และเชื้อก่อโรคจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ อี.โคไล, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซาลโมเนลลา
ผลการตรวจวิเคราะห์ ปรากฎว่าไม่พบเชื้อทั้ง 4 ชนิด ในน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญทุกตัวอย่าง
วิธีเลือกตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ปลอดภัย ขอแนะว่าควรเลือกตู้ที่มีที่ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่มีฝุ่นละออง
แหล่งระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า 30 เมตร เป็นบริเวณที่ไม่เฉอะแฉะสกปรก
ตู้ต้องมีฝาเปิดปิดช่องรับน้ำ และสภาพตู้น้ำต้องไม่เป็นสนิม
ผลวิเคราะห์เชื้อก่อโรคในน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ
ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ |
โคลิฟอร์ม |
อี. โคไล |
สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส |
ซาลโมเนลลา |
(เอ็มพีเอ็น/ 100 มิลลิลิตร) |
( /100 มิลลิลิตร) |
|||
น้ำดื่มตู้หยอดเหรียญสาธารณะ 1 ย่านพระประแดง |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
น้ำดื่มตู้หยอดเหรียญสาธารณะ 2 ย่านบางขุนเทียน |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
น้ำดื่มตู้หยอดเหรียญสาธารณะ 3 ย่านบางใหญ่ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
น้ำดื่มตู้หยอดเหรียญสาธารณะ 4 ย่านบางใหญ่ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
น้ำดื่มตู้หยอดเหรียญสาธารณะ 5 ย่านบางพลัด |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
วันที่วิเคราะห์ 8-15 ธ.ค. 2560 วิธีวิเคราะห์ AWWA (2012) 22nd ed., Part : 9221 B, AWWA (2012) 22nd ed., Part : 9213 B and In-house method based on AWWA (2012) 22nd ed., Part : 9260 B
ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/