สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคกับเมล่อนสด

เชื้อก่อโรคกับเมล่อนสด

2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลายท่านคงได้รับข่าวสารว่ามีชาวออสเตรเลียเสียชีวิต 3 ราย และป่วยอีก 12 ราย

จากการทานเมล่อน โดยมีสาเหตุจากการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ลิสทีเรีย

จากการสืบหาต้นตอพบว่าผลไม้จำพวกเมเลอน หรือแคนตาลูปที่ปลูกในรัฐนิวเซาท์เวลส์

มีการปนเปื้อนเชื้อลิสทีเรีย ซึ่งผู้ประกอบการได้ระงับการวางขาย ตรวจสอบหาแหล่งที่มาของเชื้อ

และแจ้งเตือนผู้บริโภคไม่ควรทานเมลอนที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2561 

เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก เพราะเมื่อปี 2554 เคยพบการระบาดของเชื้อ ลิสทีเรีย

ใน 18 รัฐในสหรัฐอเมริกามาแล้ว ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตถึง 13 ราย และมีผู้ล้มป่วยกว่า 72 ราย

โดยต้นตอของเชื้อมาจากแคนตาลูปเช่นกัน แต่เป็นแคนตาลูปที่ปลูกในฟาร์มในรัฐโคโลราโด

ที่มันมากับอาหารนำเสนอเรื่องราวของเชื้อ ลิสทีเรีย กับเมล่อนในวันนี้เพราะ

ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าร้อน  คนไทยอย่างเราๆ ต่างก็อยากทานผลไม้ที่หวานหอม เย็นชื่นใจ

โดยเฉพาะผลไม้ตัดแต่งอย่าง เมล่อน แคนตาลูป แตงโม

มันมากับอาหารไม่อยากให้คนไทยประมาท เพราะในต่างประเทศเขาพบเชื้อ ลิสทีเรีย

ปนเปื้อนในเมล่อนจนทำให้ผู้บริโภคที่ทานเข้าไปเสียชีวิต และล้มป่วยเป็นร้อยๆ กันมาแล้ว

เชื้อชนิดนี้มักพบปนเปื้อนในผลไม้ตัดแต่ง  สลัดผักสด อาหารทะเลดิบ เนื้อสัตว์ดิบ

นมและชีสที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะแสดงอาการหลังติดเชื้อแล้ว 6 สัปดาห์ ทำให้เกิดอาการเป็นไข้ อาเจียน ท้องร่วง

อาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด โลหิตเป็นพิษและเยื่อบุหัวใจอักเสบ

กลุ่มสตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

จะมีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้ได้มากกว่าคนทั่วๆ ไป และหากติดเชื้อก็อาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

หน้าร้อนนี้ขอเตือนว่า  ก่อนทานผลไม้ตัดแต่งโดยเฉพาะจำพวกเมเลอน หรือแคนตาลูป

ควรล้างทำความสะอาดและปลอกเปลือกทุกครั้ง หากเป็นผัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเลควรลวกหรือ

นำมาปรุงให้สุกก่อนทาน มีด เขียง และภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด

ถ้าต้องเก็บควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส หรืออุณภูมิที่ต่ำกว่า เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ลิสทีเรีย

เพียงเท่านี้ก็ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ลิสทีเรีย ที่มากับผลไม้ และอาหารอื่นๆ ได้

 

แก้ไขข้อมูลผลการวิเคราะห์ที่ลงเผยแพร่ใน Nfitr 947 มันมากับอาหาร / หน้า 7 ไทยรัฐ 30 มี.ค. 2561

ผลการวิเคราะห์ปริมาณแคดเมียมปนเปื้อนในพริกแกงทั้ง 5 ตัวอย่าง แก้ไขจาก 0.03 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม เป็น น้อยกว่า 0.06 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม

 

ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย  สถาบันอาหาร  กระทรวงอุตสาหกรรม

โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins