โลหะหนัก... กับขมิ้นชัน
ขมิ้นเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่าและขิง มีหัวและเหง้าอยู่ใต้ดิน
จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่ใช้เหง้าเป็นเครื่องเทศ ขมิ้น ข่าและขิง 3 มีรูปร่าง รสชาติ และกลิ่นที่แตกต่างกัน แต่มีสรรพคุณคล้ายๆ กัน
ในการเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สมานแผลรวมถึงรักษาอาการหวัด
พืชทั้ง 3 ชนิด นิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อสร้างกลิ่นให้กับอาหาร
และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหาร
ขมิ้น เป็นพืชสมุนไพรที่มีสีเหลืองหรือส้มแสด มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์
คนไทยนิยมนำขมิ้นมาผสมกับเครื่องแกงเผ็ดเพื่อให้มีสีเหลือง และช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์
ขมิ้นมีฤทธิ์ทางยาหลายขนาน ทั้งช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบ
ต้านการแพ้ ยับยั้งแบคทีเรียและสารพิษที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
สรรพคุณทางยาเพียบ แต่ขอให้พึงระวังไว้นิดว่าอาจมีโลหะหนักบางชนิดที่เป็นอันตรายปนเปื้อน
อยู่ในขมิ้นได้ เช่น สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม
สาเหตุของการปนเปื้อนอาจมาจากทั้งแหล่งดิน แหล่งน้ำที่ใช้เพาะปลูกขมิ้น
หรืออาจมาจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในระหว่างการเพาะปลูกขมิ้น
เมื่อเราทานอาหารที่มีขมิ้นที่ปนเปื้อนโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำๆ มันจะสะสมในร่างกาย
จนทำให้เกิดอันตรายและเจ็บป่วยได้ วันนี้ สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มตัวอย่างขมิ้นชัน
จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณการปนเปื้อน
ของโลหะหนัก 4 ชนิด ได้แก่ สารหนู แคดเมียม ตะกั่วและปรอท ผลวิเคราะห์ปรากฎว่า
พบตะกั่วปนเปื้อนในขมิ้นชันทุกตัวอย่าง พบสารหนูปนเปื้อนใน 1 ตัวอย่าง และพบแคดเมียมปนเปื้อน
ใน 2 ตัวอย่าง แต่ปริมาณที่ตรวจพบยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย
ที่กำหนดให้พบตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และพบสารหนูปนเปื้อนได้
ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้วคงสบายใจกันได้
ขอแนะว่า ควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อความปลอดภัยและมีร่างกายแข็งแรง
ผลวิเคราะห์โลหะหนักในขมิ้นชัน
ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ |
โลหะหนัก (มิลลิกรัม/ กิโลกรัม) |
||||
สารหนู |
แคดเมียม |
ตะกั่ว |
ปรอท |
||
ขมิ้นชัน ร้าน 1 ย่านนางเลิ้ง |
น้อยกว่า 0.123 |
น้อยกว่า 0.06 |
0.10 |
ไม่พบ |
|
ขมิ้นชัน ร้าน 2 ย่านราชวัตร |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
0.41 |
ไม่พบ |
|
ขมิ้นชัน ร้าน 3 ย่านบางขุนศรี |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
0.09 |
ไม่พบ |
|
ขมิ้นชัน ร้าน 4 ย่านพระราม 5 |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
น้อยกว่า 0.03 |
ไม่พบ |
|
ขมิ้นชัน ร้าน 5 ย่านเทเวศร์ |
ไม่พบ |
น้อยกว่า 0.06 |
0.04 |
ไม่พบ |
|
วันที่วิเคราะห์ 7-9 พ.ค. 2561 วิธีวิเคราะห์ In-house method T9153 based on AOAC (2012) 986.15
In-house method T9166 based on AOAC (2012) 999.10 ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/