สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ระวัง! กรดไขมันทรานส์

ระวัง!  กรดไขมันทรานส์

วันนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินชื่อ กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids)

หลายท่านคงได้รับข่าวสารจากสื่อแขนงต่างๆ  แล้วว่ากระทรวงสาธารณสุขไทยได้ออกประกาศฯ เลขที่ 388 พ.ศ. 2561

เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

โดยกำหนดให้ ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และ

อาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561ที่ผ่านมา

โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด  180 วัน นับตั้งแต่วันประกาศ

นั่นหมายถึงว่า ต้นปี 2562 ต้องไม่พบอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน

เป็นส่วนประกอบขายอยู่ในท้องตลาด เช่น ครีมเทียม เนยเทียมหรือมาร์การีน  เนยขาว

ขนมอบ ขนมทอด พาย พัฟ เวเฟอร์ และเบเกอรี่นานาชนิด   เพราะอาหารเหล่านี้

มีกรดไขมันทรานส์ ที่เกิดจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม คือ การเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน  ซึ่งเป็นตัวอันตรายแฝงอยู่                   

เมื่อเราทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์เข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลรวม และ LDL

หรือคอเลสเตอรอลตัวไม่ดีเพิ่มขึ้น  ที่สำคัญยังส่งผลให้ HLD หรือคอเลสเตอรอลตัวดีลดลง

ทำให้ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง  23 %

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “มันมากับอาหาร”  เคยสุ่มเก็บอาหารจากท้องตลาด

ได้แก่  ปาท่องโก๋  ขนมโดนัท คุกกี้และกาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผง 3 in 1  เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณกรดไขมันทรานส์

ผลวิเคราะห์พิสูจน์ให้เห็นว่าอาหารข้างต้น มีกรดไขมันทรานส์ในปริมาณมากน้อยต่างกัน ดังตารางด้านล่าง

มีข้อแนะนำว่า ไม่ควรทานอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค
เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้วขอแนะว่า  เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงโดยเฉพาะโดนัท

หรือ ก่อนซื้อให้ดูที่ฉลากอาหารว่าอาหารนั้นมีส่วนประกอบของน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนหรือไม่

ถ้ามี ก็ไม่ควรเลือกซื้อ หรือเลือกซื้ออาหารที่ในฉลากระบุว่ามีปริมาณไขมันทรานส์เป็น  0 กรัม

เพื่อความปลอดภัยของหัวใจเรา ///

ผลวิเคราะห์ปริมาณไขมันทรานส์ในอาหาร

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

ปริมาณไขมันทรานส์

ปาท่องโก๋  (10 ตัวอย่าง) 

0.03 - 0.16  กรัม/ 100 กรัม

ขนมโดนัท  (5 ตัวอย่าง) 

0.83 – 4.46  กรัม/ 100 กรัม

คุกกี้  (5 ตัวอย่าง) 

0.02 - 0.05   กรัม/ 100 กรัม

กาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผง 3 in 1  (5 ยี่ห้อ)

0.001 - 0.05  กรัม/ กาแฟ 1 ซอง

 

 

เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์  ปี  2551-2560  วิธีวิเคราะห์   In-house method based on AOAC (2005), 996.06

และ In-house method T 9142 based on AOAC (2012) 996.06  

ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

โทร. 02 422 8688  หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins