สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อวัว

สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อวัว

           เนื้อวัว เนื้อสัตว์แสนอร่อยที่หลายคนหลงใหลรสชาติเป็นอย่างมาก ยิ่งหากเป็นเนื้อคุณภาพดีขึ้นชื่อ ราคายิ่งแพง การเลี้ยงโคเนื้อให้ได้คุณภาพ จะขึ้นอยู่กับการใช้อาหาร และกระบวนการจัดการเลี้ยง จึงได้คุณภาพซากเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค

          แต่ที่แน่ๆ อย่าใช้สารกลุ่มเบตาอะโกนิส หรือ “สารเร่งเนื้อแดง” สารดังกล่าวใช้สำหรับช่วยในการขยายหลอดลม แก้อาการหอบหืดในคน และช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว เพราะถ้านำสารกลุ่มดังกล่าวมาใช้ในระหว่างสัตว์ เช่น สุกร วัว เพื่อช่วยทำให้สัตว์มีการสะสมไขมันลดลง มีการเจริญเติบโต และกระตุ้นให้มีปริมาณเนื้อแดงเพิ่มขึ้น

          เมื่อผู้บริโภคซื้อเนื้อหมูหรือเนื้อวัวที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างไปรับประทานอาจก่อให้เกิดอันตราย อาทิ อาการหัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน และจะแสดงอาการอย่างรวดเร็วชัดเจนในกลุ่มสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ได้

          เพื่อความสบายใจของสาวกกลุ่มบริโภคเนื้อวัว สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อวัวสดจากตลาดย่านต่างๆในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่าง

          นำมาตรวจวิเคราะห์สารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบตาอะโกนิสจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ เคลนบูเทอรอล แรคโตพามีน และซัลบูทามอล ผลปรากฏว่า ไม่พบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัวสดทุกตัวอย่าง

          ส่วนเนื้อคุณภาพที่แสนโอชะนั้น ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มีสีชมพูหรือแดงระเรื่อ หรือสีไม่แดงสดจนเกินไป มีไขมันหนาบริเวณสันหลัง หากตัดชิ้นเนื้อสัตว์เป็นแนวขวางจะเห็นไขมันแทรกระหว่างชิ้นส่วนบริเวณกล้ามเนื้ออย่างชัดเจน และเมื่อหั่นทิ้งไว้จะมีน้ำซึมออกมาจากชิ้นเนื้อ.

 

ผลวิเคราะห์สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัวสด

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

สารกลุ่มเบต้าอะโกนิส (ไมโครกรัม/ กิโลกรัม)

เคลนบูเทอรอล

แรคโตพามีน

ซัลบูทามอล

เนื้อวัว ยี่ห้อ 1

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

เนื้อวัว ร้าน 1 ย่านพรานนก

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

เนื้อวัว ร้าน 2 ย่านพรานนก

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

เนื้อวัว แผงลอยร้าน 1 ย่านบางขุนศรี

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

เนื้อวัว ร้าน 3 ย่านสี่แยกบ้านแขก

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

 

         วันที่วิเคราะห์  9-13 พ.ค. 2562     วิธีวิเคราะห์  In-house method T9209 based on Science China Chemistry,

          April 2010 Vol. 53, No.4:832-840       ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย

          สถาบันอาหาร  กระทรวงอุตสาหกรรม    โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins