ปัจจุบันการทำสวนพริกในบ้านเรา บางแห่งยังคงมีการใช้สารเคมี ออร์กาโนคลอรีน, ออร์กาโนฟอสเฟต, คาร์บาเมต, กลุ่มไพรีทรัม/สารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ หากเกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร
แต่ถ้าฉีดพ่นสารเคมีช่วงเย็น เก็บขายยามเช้า จึงทำให้มีสารพิษตกค้าง หากเข้าไปสะสมในร่างกาย ย่อมเป็นอันตรายต่อระบบสมอง ประสาท ทำให้ความจำเสื่อม สมาธิสั้น เป็นพิษต่อตับและไต รบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และกระทบต่อต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน)
เพื่อความสบายใจ “สถาบันอาหาร” จึงสุ่มเก็บพริกขี้หนูสด 5 ตัวอย่าง ใน 5 ย่านการค้า ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเพื่อนำมาวิเคราะห์สารกำจัดแมลงและศัตรูพืช 4 กลุ่ม รวม 58 ชนิดตกค้าง ผลการวิเคราะห์พบสารตกค้างในพริกสดทุกตัวอย่าง และมีพริก 2 ตัวอย่าง ที่พบสารไซเพอร์เมทรินและอีไทออนตกค้างเกินค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง
ฉะนั้น ก่อนนำพริกขี้หนูสดมาปรุงอาหาร ควรล้างเพื่อลดสารพิษ ด้วยการแช่น้ำ 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านถูไปมานาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร นาน 15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เพียงแค่นี้ก็ปลอดภัยจากอันตรายของสารพิษ.
ผลวิเคราะห์สารพิษตกค้างในพริกขี้หนูสด
ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ |
ปริมาณสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชที่พบตกค้าง (มิลลิกรัม/ กิโลกรัม) |
|||
กลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต |
กลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน |
กลุ่ม คาร์บาเมต |
กลุ่ม ไพรีทรอยด์ |
|
พริกขี้หนูสด (สีแดง) แผงลอยร้าน 1 ย่านสาย 4 |
คลอร์ไพริฟอส-เอทิล 0.16 อีไทออน 4.10 |
ไม่พบ |
ไม่พบ |
ไซเพอร์เมทริน 5.64 |
พริกขี้หนูสด (สีแดง) ร้าน 1 ย่านคลองสามวา |
คลอร์ไพริฟอส-เอทิล 0.29 อีไทออน 0.05 |
ไม่พบ |
คาร์โบฟูแรน 0.06 |
ไซเพอร์เมทริน 1.78 |
พริกขี้หนูสด (สีแดง) แผงลอยร้าน 2 ย่านหนองแขม |
คลอร์ไพริฟอส-เอทิล 0.42 เฟอร์นิโทรไทออน น้อยกว่า 0.01 โพรฟีโนฟอส 0.28 |
ไม่พบ |
คาร์โบฟูแรน 0.02 |
แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน0.02 ไซเพอร์เมทริน 3.52 |
พริกขี้หนูสด (สีแดงผสมเขียว) แผงลอยร้าน 3 ย่านบางพลัด |
โพรฟีโนฟอส 0.23 |
ไม่พบ |
คาร์โบฟูแรน 0.03 |
ไซเพอร์เมทริน 0.06 |
พริกขี้หนูสด (สีแดง) ร้าน 2 ย่านพรานนก |
คลอร์ไพริฟอส-เอทิล 0.07 ไดเมโทเอต 0.12 โพรฟีโนฟอส 0.02 ไตรอะโซฟอส 0.01 |
ไม่พบ |
คาร์โบฟูแรน 0.02 |
แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริ น้อยกว่า 0.01 ไซเพอร์เมทริน 0.03 |
วันที่วิเคราะห์ 8-9 ต.ค. 2562 วิธีวิเคราะห์ In-house method T9140 based on CDFA-MRS,
Method State of California, CA, USA, SOP (2002) ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/