‘ลูกชิ้น’ เป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่เรียกกันตามเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ลูกชิ้นกุ้ง ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นไก่ ลูกชิ้นปลา รูปทรงหลากหลาย สุดแท้แต่ความสร้างสรรค์ของผู้ผลิตว่าจะทำออกมารูปทรงไหน วิธีการทำลูกชิ้นนั้นไม่ยุ่งยาก
ขั้นตอนการทำลูกชิ้น เริ่มจากนำเนื้อสัตว์มาปรุงรส เติมแป้งมันนิดหน่อยแล้วใส่เครื่องปั่น ปั่นให้ละเอียด ระหว่างปั่นใส่น้ำแข็งลงไปด้วยช่วยให้ลูกชิ้นมีความชุ่มฉ่ำและมีเนื้อสัมผัสนุ่มตามต้องการ จากนั้นพักไว้ในตู้เย็น 10 นาที นำมาปั้นต้มในน้ำร้อน พอสุกตักแช่น้ำเย็น หากทำทานเองที่บ้านปลอดภัยไร้สารปนเปื้อนที่อันตราย โดยเฉพาะบอแรกซ์ แน่นอน 100%
‘สารบอแรกซ์’ หรือสารข้าวตอก เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม ผู้ผลิตมักนำมาผสมในอาหารเพื่อให้รสสัมผัสหยุ่น กรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย
ทว่า สารชนิดนี้หากเราได้รับเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดอันตรายได้ แม้ได้รับจากอาหารในปริมาณไม่มาก แต่บ่อยครั้งเป็นเวลานานๆทำให้เกิดอาการเรื้อรัง ทั้งอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตับและไตอักเสบ ระบบสืบพันธุ์เสื่อมสมรรถภาพ และหากได้รับปริมาณสูงจะทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันคือ คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพื่อให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลความปลอดภัยของอาหารใกล้ตัว
ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะไม่พบสารบอแรกซ์ปนเปื้อน แต่ขอเตือนอีกนิดว่าควรเลือกซื้อลูกชิ้นจากร้านค้าที่มั่นใจว่าปลอดภัย หากซื้อมาปรุงเองที่บ้านไม่ควรซื้อที่แบ่งบรรจุขาย ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีสถานที่ผลิต ไม่ระบุส่วนประกอบ วันผลิต วันหมดอายุ ที่สำคัญไม่รู้ว่ามีผสมอะไรลงไปบ้าง.
ผลวิเคราะห์บอแรกซ์ในลูกชิ้นปลา
ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ |
บอแรกซ์ (พบ/ ไม่พบ) |
ลูกชิ้นปลา ยี่ห้อ 1 |
ไม่พบ |
ลูกชิ้นปลา ร้านแผงลอยย่านพุทธมณฑลสาย 4 |
ไม่พบ |
ลูกชิ้นปลา ยี่ห้อ 2 |
ไม่พบ |
ลูกชิ้นปลา ยี่ห้อ 3 |
ไม่พบ |
ลูกชิ้นปลา ยี่ห้อ 4 |
ไม่พบ |
วันที่วิเคราะห์ 29-30 ตุลาคม 2562 วิธีวิเคราะห์ AOAC (2016) 970.33
ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/