สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สารให้ความหอม (2AP) ในข้าวหอมมะลิ

สารให้ความหอม (2AP) ในข้าวหอมมะลิ 

    

           ข้าวหอมมะลิไทย  นับเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีอันดับต้นๆ ของโลก  ทั้งในด้านรสชาติ ความเหนียวนุ่ม    รูปร่างของข้าว และคุณสมบัติพิเศษของข้าวหอมมะลิของไทย ส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าวหอมมะลิของไทยได้รางวัลข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา คือ กลิ่นที่หอมของข้าวหอมมะลิที่ ไม่ได้มาจากกลิ่นมะลิแต่อย่างใด แต่มาจากกลิ่นของสารหอมที่มีอยู่ในเมล็ดข้าวตามธรรมชาติ  

           กลิ่นหอมดังกล่าวมาจากสารที่ชื่อว่า  2-Acetyl-1-Pyrroline หรือเรียกย่อๆ ว่า 2AP ซึ่งเป็นสารให้ความหอมที่ทำให้ข้าวหอมมะลิไทย มีเอกลักษณ์และแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวชนิดอื่นๆ  สาร 2AP พบมากในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105  และข้าวพันธุ์ กข.15  เมื่อนำข้าวทั้ง 2 พันธ์ มาหุงจะทำให้ได้ข้าวสวยหุงสุกที่มีสีขาวคล้ายดอกมะลิและมีกลิ่นหอมน่าทาน   การวัดปริมาณสารให้ความหอม  2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP) ในข้าว ซึ่งเป็นสารหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมในข้าวนั้นซับซ้อน จะต้องตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ ที่มีเครื่องมือวิเคราะห์โดยเฉพาะเช่น ห้องปฏิบัติการของสถาบันอาหารที่มีขีดความสามารถและมีเครื่องมือเฉพาะสำหรับตรวจวิเคราะห์ปริมาณสาร 2AP ที่มีในข้าวได้  

           วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวสารหอมมะลิจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ ที่วางขาย ในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ  เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารให้ความหอม (2AP) ผลการวิเคราะห์พบว่าข้าวหอมมะลิทั้ง  5 ตัวอย่างมีสาร  2AP อยู่ในช่วง  0.30 - 0.79 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ผู้ประกอบการที่ต้องการทราบว่าข้าวหอมมะลิที่ผลิตหรือขายมีสารให้ความหอมปริมาณเท่าใด  ส่งมาตรวจวิเคราะห์กันได้ที่สถาบันอาหาร ///

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins