สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคในซูชิ

เชื้อก่อโรคในซูชิ

 

 

        ซูชิ อาหารสัญชาติญี่ปุ่น มีที่มาจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นข้าวกับปลาชนิดต่างๆ หรืออาจมีหอย กุ้ง ไข่ หมึก สาหร่ายด้วย เพื่อให้หลากหลาย น่ารับประทานยิ่งขึ้น การทำซูชิเน้นการใช้มือในการประกอบและปั้นให้ได้รูปทรง อีกทั้งไม่ได้ผ่านความร้อนก่อนนำมาทาน ฉะนั้น หากผู้ปรุงประกอบ หรือพ่อค้า แม่ค้า ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอหรือไม่รักษาความสะอาดขณะประกอบและปั้นซูชิ อาจทำให้ซูชิมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนเชื้อก่อโรคจากมือผู้ประกอบอาหารได้ เช่น เชื้อ อี.โคไล เชื้อชนิดนี้พบในอุจจาระของคนและสัตว์เลือดอุ่น จึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหารและน้ำดื่ม

 

        ปกติเชื้อ อี.โคไล จะไม่ทำอันตรายหรือก่อโรคร้ายแรง แต่หากร่างกายได้รับเชื้อ อี.โคไล จำนวนมากเกินไป หรือได้รับสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคผ่านการทานอาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้เข้าไป เช่น อาหารดิบ อาหารปรุงสุกที่ค้างคืนไว้นาน อาหารที่ล้างไม่สะอาด หรือผู้ประกอบอาหารไม่รักษาความสะอาด อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษได้ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหารฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดให้ซูชิมีปริมาณเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนน้อยกว่า 3 MPN ใน 1 กรัม

 

        สถาบันอาหาร สุ่มเก็บตัวอย่างซูชิจำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านอาหารและตลาดย่านต่างๆในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อน ผลปรากฏว่าพบเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานถึง 2 ตัวอย่าง เห็นอย่างนี้แล้วควรเลือกซื้อ เลือกทานจากร้านที่มั่นใจได้ถึงความสะอาดและ มีการรักษาสุขลักษณะที่ดี จะปลอดภัยกว่า.

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins