สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เนยถั่วลิสงกับแอฟลาทอกซิน

เนยถั่วลิสงกับแอฟลาทอกซิน

 

        เนยถั่ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำถั่วลิสงมาทำให้สุก ปั่นให้ละเอียดและเติมส่วนประกอบอื่น เช่น น้ำตาล เกลือ เนยขาว ผสมให้เข้ากัน นิยมทานคู่กับขนมปังเป็นอาหารเช้า อาหารว่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูรามยอนซุปเนยถั่ว มาการองเนยถั่ว คุกกี้เนยถั่ว สมูทตี้คุกกี้ช็อกโกแลตเนยถั่ว ทว่าวัตถุดิบหลักของเนยถั่วคือ ถั่วลิสง เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มักพบสารพิษที่ชื่อแอฟลาทอกซิน ปนเปื้อนได้ง่าย สารพิษชนิดนี้ผลิตโดยเชื้อรากลุ่ม Aspergillus spp. มักพบปนเปื้อนในผลิตผล เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด กระเทียม หัวหอม ข้าวสาลี หากเก็บรักษาไว้ในสถานที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ สกปรกหรือเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นอับ จะทำให้มีเชื้อรากลุ่ม Aspergillus spp. ปนเปื้อน เจริญเติบโตจนสร้างสารพิษแอฟลาทอกซินออกมาและปนเปื้อนอยู่ในผลผลิตได้ เมื่อสารพิษแอฟลาทอกซินเข้าสู่ร่างกาย มันจะไปสะสมที่ตับและไต แม้ว่าร่างกายจะสามารถกำจัดออกได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากๆอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น ทำให้มีอาการชัก หายใจลำบาก หัวใจและสมองบวม ตับอักเสบ เกิดความผิดปกติในเซลล์บุหลอดเลือดภายในตับ ตับแข็งและอาจเป็นมะเร็งตับได้ ที่สำคัญสารพิษแอฟลาทอกซินไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อนที่ใช้ปรุงอาหาร หรือหุงต้มทั่วไป เพราะมันทนความร้อนได้สูงถึง 268 องศาเซลเซียส ฉะนั้น การป้องกันไม่ให้ปนเปื้อนในถั่วลิสงที่ใช้เป็นวัตถุดิบเนยถั่วจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ตามกฎหมายของไทยเรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน กำหนดให้พบแอฟลาทอกซินปนเปื้อนในอาหารสูงสุดได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

        สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างเนยถั่วและครีมถั่วลิสงจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ ที่ผลิตในไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์แอฟลาทอกซินปนเปื้อน ผลวิเคราะห์พบว่า 5 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนสารแอฟลาทอกซินเพียง 1 ตัวอย่าง และพบในปริมาณที่ไม่เกินกฎหมายไทยกำหนด วันนี้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่ายังทานเนยถั่วได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่ควรทานบ่อยจนเกินไป และควรเลือกทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ เพื่อร่างกายที่ปลอดภัยและแข็งแรง.

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins