ข่าวประชาสัมพันธ์สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
DIPROM…พร้อมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเป้าหมาย กิจกรรมพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (เกษตรปลอดภัย GAP และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์)

        วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567 เวลา 9.15 น. นายบูรณะศักดิ์ มาดหมาย ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผนเกษตรอุตสาหกรรม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวในงานสรุปผลสำเร็จและพิธีปิด “กิจกรรมพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (เกษตรปลอดภัย GAP และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร       

 

นายบูรณะศักดิ์ มาดหมาย

 ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผนเกษตรอุตสาหกรรม   

กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ภาพบรรยากาศในงาน


         กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการดำเนินนโบบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ 1) ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DIGITAL TRANSFORMATION) 2) ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) ผ่านการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค (ECONOMIC CORRIDOR) และ 3) ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (FINANCIAL INCLUSION) โดยพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม SMEs ในด้านการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม อยู่ภายใต้แนวคิด Argo Solution ได้แก่ 


1) Argo product คือ การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 
2) Argo Tech คือ การนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้  
3) Argo Warrior คือ การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการ 
4) Argo Nomy คือ การรวบรวมข้อมูลสำหรับเกษตรกร /ผู้ประกอบการ / ปัจจัยเอื้อต่าง ๆ 
5) Argo DIPROMPAY คือ สินเชื่อและระบบเงินทุนสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมเกษตร 


         ในปี 2567 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนิน “กิจกรรมพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (เกษตรปลอดภัย GAP และเกษตรอินทรีย์)” โดยมีสถาบันอาหาร เป็นหน่วยร่วมดำเนินการในการพัฒนาผู้ประกอบการ จำนวน 35 กิจการ ผ่านโปรแกรมการยกระดับมาตรฐาน เพื่อเตรียมการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ระดับสากล หรือการขยายขอบข่ายโรงตัดแต่งและแปรรูป เพื่อขอการรับรองเกษตรปลอดภัย GAP / เกษตรอินทรีย์ / GHPs จำนวน 17 กิจการ โปรแกรมการตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) จำนวน 18 กิจการ

        การดำเนินโครงการฯ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 12 ล้านบาท ผลิตภาพเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และผู้ประกอบการมีโอกาสเข้าถึงช่องทางการตลาดได้มากขึ้นผ่านกิจกรรมการการเชื่อมโยงธุรกิจไปยังผู้ค้า (Trader) ตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้ประกอบการในธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย เกษตรปลอดภัย GAP และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ของไทยจะสามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดได้มากขึ้น 

 

พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กิจการตัวอย่าง

 

พิธีมอบเกียรติบัตรให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

 

   

 

แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins