สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ยาฆ่าแมลงในใบกุยช่าย

ยาฆ่าแมลงในใบกุยช่าย

กุยช่ายเป็นพืชวงศ์เดียวกับหอมและกระเทียม เป็นแหล่งสะสมวิตามินเอ

ที่ช่วยบำรุงเซลล์ในส่วนต่างๆ ของดวงตาให้แข็งแรง

ช่วยในการมองเห็นและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีธาตุเหล็กช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง

และเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

เลือกกินอย่างไร? อันนี้ต้องแล้วแต่ความชอบ  กุยช่ายมีหลายสีทั้งเขียวและขาว

แต่คุณค่าทางอาหารไม่แตกต่างกันมาก วิธีการปรุงให้กุยช่ายมีรสชาติดีมากขึ้น คือ

ปรุงด้วยความร้อนไฟแรงแต่ใช้เวลาน้อยจะทำให้กุยช่ายมีรสหวานขึ้น กลิ่นฉุนลดลง

ข้อดีและคุณประโยชน์ของกุยช่ายมีมาก แต่ก็มีข้อเสียหากผู้ปลูกมีการใช้สารเคมี

หรือยาฆ่าแมลงและกำจัดศัตรูพืชมากๆ อาจทำให้มีสารพิษเหล่านี้ตกค้างอยู่ในใบกุยช่ายได้

และหากผู้บริโภคอย่างเราๆ ได้รับเข้าสู่ร่างกาย สารพิษเหล่านี้จะเข้าไปสะสมและอาจส่งผลเสีย

ต่อร่างกายในระยะยาวได้

วันนี้สถาบันอาหาร ได้สุ่มเก็บตัวอย่างใบกุยช่ายในท้องตลาดจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า

ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงตกค้าง 4 กลุ่ม จำนวน 58 ชนิด

ผลปรากฎว่าพบสารกลุ่มไพรีทรอยด์ ได้แก่ ไซเพอร์เมทรินในกุยช่ายทั้ง  5 ตัวอย่าง ซึ่งมี 3 ตัวอย่าง

ที่พบเกินค่ามาตรฐาน  และพบสารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทรินใน 1 ตัวอย่าง ซึ่งเกินค่ามาตรฐานเช่นกัน

สารกลุ่มไพรีทรอยด์นี้ เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริวที่ท้อง

เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีอาการล้า ปวดศรีษะ และมึนงง

เห็นข้อมูลอย่างนี้แล้ว  ขอแนะวิธีง่ายๆ ว่าควรล้างผักให้สะอาดโดยให้น้ำไหลผ่านและใช้มือช่วยคลี่ใบผักนาน 2 นาที

ก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย ///

ผลวิเคราะห์ยาฆ่าแมลงในใบกุยช่าย

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

ปริมาณยาฆ่าแมลงตกค้าง (มิลลิกรัม/ กิโลกรัม)

กลุ่ม

ออร์กาโนฟอสเฟต

กลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน

กลุ่ม

คาร์บาเมต

กลุ่ม

ไพรีทรอยด์

ใบกุยช่าย ซุปเปอร์มาเก็ต

ย่านจรัญสนิทวงศ์

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

พบสาร ไซเพอร์เมทริน 0.19

ใบกุยช่าย ร้านที่ 1 ย่านบางขุนศรี

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

พบสาร ไซเพอร์เมทริน    น้อยกว่า  0.01

ใบกุยช่าย ร้านที่ 2 ย่านบางขุนเทียน

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

พบสาร ไซเพอร์เมทริน 0.93

ใบกุยช่าย ร้านที่ 3 ย่านปากน้ำ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

พบสาร ไซเพอร์เมทริน 0.77

ใบกุยช่าย ร้านที่ 4 ย่านบางนา

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

พบสาร ไซเพอร์เมทริน    น้อยกว่า 0.01

/ พบสาร

แลมบ์ดาไซฮาโลทริน

0.13

 

วันที่วิเคราะห์ 15-16 ส.ค. 2561    วิธีวิเคราะห์  In-house method T9140 based on CDFA-MRS,

Method State of California, CA, USA, SOP (2002)   ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins