สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ยาปฏิชีวนะตกค้างกับ... สเต็กไก่

ยาปฏิชีวนะตกค้างกับ... สเต็กไก่

สเต็ก เมนูอาหารฝรั่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยมานาน

มีทั้งสเต็กหมู  เนื้อ ไก่ และปลา  ทำให้เป็นอีกเมนูที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีให้แก่ผู้บริโภคอย่างเราๆ

ทุกวันนี้เราจึงเห็นมีร้านสเต๊กขายกันดาษดื่นตามริมถนน ตลาดสด ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ 

ตีคู่มากับร้านขายอาหารไทย เช่น ร้านส้มตำ ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ต้มเลือดหมู ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่

ร้านสเต็กแบบไทยๆ จะเสริฟสเต็กคู่กับมันฝรั่งทอด ไส้กรอก ขนมปังปิ้ง สลัดผัก ผักต้ม

ขึ้นอยู่กับว่าคนทานมีรสนิยมชอบทานคู่กับอะไร

ทว่า วันนี้ท่านที่ชอบทานสเต็กอาจต้องระวังไว้บ้าง  เพราะอาจเป็นไปได้ว่า

สเต็กที่ท่านทานอยู่นั้นอาจมีสารปฏิชีวนะตกค้างได้  แล้วตกค้างได้อย่างไร?

ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ วัว เกษตรกรบางรายอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะในขณะเลี้ยงเพื่อ

รักษาและป้องกันโรค  หรือเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ ซึ่งหากใช้ปริมาณมากๆ

หรือใช้เกินความจำเป็น หรือใช้ไม่ถูกหลักการที่เหมาะสม 

จะทำให้มีสารปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เช่น ไข่ นม ที่เรานำมาปรุงเป็นอาหารทานได้  

เมื่อเราได้รับสารปฏิชีวนะเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอันตราย เช่น เกิดอาการข้างเคียงของยา

เกิดการแพ้ยารุนแรงในรายที่มีการแพ้  

และหากเป็นการตกค้างของยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้รักษาโรคในคน เช่น เททระไซคลิน

คลอร์เททระไซคลินด้วยแล้ว  ก็อาจทำให้ร่างกายสร้างเชื้อที่ดื้อยาชนิดนี้ขึ้นมาได้ 

ทำให้เมื่อใช้ยาชนิดนี้รักษาโรคจะไม่ได้ผล หรือทำให้เราดื้อยานั่นเอง

สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างสเต็กไก่  5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ในเขตกรุงเทพฯ และนนทบุรี 

เพื่อนำมาวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะ  3 ชนิด ได้แก่ คลอร์เททระไซคลีน, ออกซิเททระไซคลีน

และเททระไซคลิน ผลปรากฏว่าไม่พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะทั้ง  3 ชนิด ในสเต็กไก่ทั้ง 5 ตัวอย่าง

เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว  คนกรุงเทพฯ คงทานสเต็กไก่กันได้อย่างสบายใจ ///

 

ผลวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะตกค้างในสเต็กไก่

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

ยาปฏิชีวนะ (มิลลิกรัม/ กิโลกรัม)

คลอร์เททระไซคลีน

ออกซิเททระไซคลีน

เททระไซคลิน

สเต๊กไก่ ร้าน 1 ย่านนนทบุรี

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

สเต๊กไก่ ร้าน 2 ย่านอิสระภาพ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

สเต๊กไก่ ร้าน 3 ย่านจรัญสนิทวงศ์

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

สเต๊กไก่ ร้าน 4 ย่านบางซื่อ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

สเต๊กไก่ ร้าน 5 ย่านบางพลัด

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

วันที่วิเคราะห์ 9 - 20 ส.ค. 2561   วิธีวิเคราะห์  In-house method T9200 based on Journal

of Chromatography A, 987 (2003) p 227-233.  ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม  โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins