ประวัติความเป็นมาสถาบันอาหาร | National Food Institut

สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
บทบาทหน้าที่

ด้านความปลอดภัย

ร่วมมือกับหน่วยงานหลักของประเทศ ส่งเสริมให้สินค้าอาหารไทยมีความปลอดภัย และสนับสนุนให้เกิดมาตรฐานการควบคุมด้านอาหารปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก และองค์การด้านอาหารระหว่างประเทศ 

 

ด้านการวิจัยและพัฒนา

สนับสนุนและวางนโยบายแผนยุทธศาสตร์การวิจัยและการพัฒนาด้านนวัตกรรมอาหารของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพในการสร้างศักยภาพการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งทางด้านการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย ในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา

 

เป็นแหล่งวิจัยเชิงลึก

ประสานหน่วยงานหลักคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ  รวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึก ที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ สำหรับงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อนำข้อมูล ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การเจรจาทางการค้า การจัดทำมาตรฐาน การตัดสินใจในเชิง การค้า ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ  


ด้านการพัฒนาธุรกิจ
สนับสนุน สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาตลาดอาหารครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำหรือการผลิต (Supply) จนถึงปลายน้ำหรือผู้บริโภค (Demand) ให้เกิดการรวมกลุ่ม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งด้านผู้ผลิต การกระจายสินค้า และการสนองตอบตามความต้องการ ของตลาด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและตลาดใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Matching Demand and Supply)


หน้าที่

(1)    สำรวจรวบรวมและติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวรวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรมอาหาร

(2)    ส่งเสริมและจัดให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารทั้งในด้านการผลิตการพัฒนารูปแบบการปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพ

(3)    ศึกษาวิจัยธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล

(4)    จัดให้มีการฝึกอบรมและสัมมนาทางวิชาการเพื่อพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมอาหารทั้งในระดับแรงงานช่างเทคนิคและระดับบริหาร

(5)    สนับสนุนหรือจัดให้มีบริการด้านการตรวจการวิเคราะห์การทดสอบและการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร

(6)    ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมอาหารแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร

(7)    สนับสนุนหรือจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

(8)    ประสานงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารระหว่างรัฐกับเอกชนและเอกชนกับเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(9)    ดำเนินงานให้เกิดความเชื่อมโยงกับงานวิจัยและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมอาหารของสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้มีการนำผลงานการศึกษามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

 

 

 

แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins