สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อหมูสด

สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อหมูสด

          ช่วงอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ตามนโยบายรัฐ เพื่อลดความแออัด ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาหารบริโภคกันเองภายในครอบครัว เพื่อลดความสุ่มเสี่ยงในสถานที่แออัด ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด พ่อบ้านแม่บ้านจึงต้องซื้อเนื้อสัตว์นานาชนิดมาแช่เย็น

           แน่นอนว่าหนึ่งในนี้คือเนื้อหมูสด ที่มักมีติดแช่ฟรีซกันแทบทุกบ้าน

           ในการเลือกซื้อเนื้อหมูนอกจากความสด เนื้อมันวาว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือสีสัน เนื้อหมูที่มีสีแดงเกินไปและมีไขมันบาง อาจมีความเป็นไปได้สูงที่จะปนเปื้อนสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ หรือสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งเกษตรกรบางกลุ่มบางคนอาจมีการนำไปใช้ผสมกับอาหารสัตว์และให้สัตว์กินเพื่อให้สัตว์สร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มปริมาณเนื้อแดง และลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อ

            สำหรับสารเร่งเนื้อแดงถือเป็น “สารต้องห้ามตามกฎหมาย” ห้ามใช้ผสมอาหารสัตว์ และห้ามปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ เพราะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ

            บางรายมีอาการเป็นลม นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นอันตรายมากสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์

            เพื่อบริโภคอย่างปลอดภัย สถาบันอาหารทำการสุ่มตัวอย่างหมูเนื้อแดง จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ ปทุมธานี และนนทบุรี นำมาตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ จำนวน 3 ชนิด คือ เคลนบิวเทอรอล แรคโตพามีน ซัลบูทามอล ผลวิเคราะห์ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อน ถือว่าเป็นเรื่องดีๆที่วันนี้ผู้บริโภคชาวไทยได้ทานเนื้อหมูปลอดภัยในยุคโควิด-19.

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins