สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคในปิ้งย่างหม่าล่า

เชื้อก่อโรคในปิ้งย่างหม่าล่า

          ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา อาหารปิ้งย่างเสียบไม้ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิ้งย่างหม่าล่า ที่มีทั้งเนื้อสัตว์ ผัก และเห็ดชนิดต่างๆ นำมาทาซอสสูตรเฉพาะแล้วปิ้งบนเตา เมื่อสุกได้ที่จะโรยผงหม่าล่า ที่มีระดับความเผ็ดตั้งแต่เผ็ดน้อยถึงเผ็ดมาก สนนราคาตั้งแต่ 5 บาท ถูกแพงแล้วแต่ลูกค้าจะเลือก

          ขณะซื้อหากสังเกตกันสักนิดจะเห็นว่าเนื้อสัตว์เสียบไม้ก่อนนำมาปิ้งเป็นเนื้อดิบ 100% ต้องใช้ความร้อนและเวลานานพอสมควรเนื้อจึงจะสุก เพราะขายดีมีลูกค้าต่อคิวรอเยอะมาก ทำให้บางร้านใช้เวลาปิ้งกันไม่นาน หรืออาจปิ้งแบบเกือบสุกหรือสุกกลางๆ ซึ่งอาจทำให้ลูกค้ามีความเสี่ยงและเป็นอันตรายจากซาลโมเนลลาเชื้อก่อโรค โดยเชื้อชนิดนี้มักพบปนเปื้อนในอาหารประเภทเนื้อ เช่น พายเนื้อ ไส้กรอก แฮม เบคอน แซนด์วิช และเนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ นม ปลา และอาหารทะเลที่ไม่ได้ผ่านความร้อนอย่างเพียงพอ เมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีไข้ ท้องร่วง อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น 39-40 องศาเซลเซียส

          เพื่อการบริโภคอย่างสบายใจและอร่อยลิ้น สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างเนื้อหมูปิ้งย่างหม่าล่า (สุก) จำนวน 5 ตัวอย่าง จากร้านปิ้งย่างหม่าล่าในเขตกรุงเทพฯ นำมาวิเคราะห์หาเชื้อดังกล่าว ผลวิเคราะห์ปรากฏพบเชื้อ ซาลโมเนลลา ปนเปื้อนใน 1 ตัวอย่าง

          ตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 กำหนดให้ต้องไม่พบเชื้อซาลโมเนลลา ปนเปื้อนในอาหารพร้อมบริโภคทั่วไป เห็นอย่างนี้แล้วขอแนะว่าเลือกซื้อจากร้านที่ปิ้งหรือย่างจนสุกจะดีกว่า และควรทานขณะที่ยังร้อนหรือสุกใหม่ๆ เพื่อความอร่อยและความปลอดภัยของร่างกายเรา.

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins