สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคในน้ำส้มคั้นสด

เชื้อก่อโรคในน้ำส้มคั้นสด

          ยุคนี้หากกล่าวถึงเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เรามักจะคิดถึงน้ำผัก ผลไม้ทั้งแบบคั้นสดและสำเร็จรูป ที่มีวางขายหลากหลายทั้งผักรวม ผลไม้รวมเอาใจสายสุขภาพที่ไม่มีเวลาในการเตรียมหรือปรุงอาหาร เพราะต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้น ถ้าเป็นน้ำผลไม้สำเร็จรูปจะมีความปลอดภัยสูงเพราะขั้นตอนการผลิตจะควบคุมด้วยระบบคุณภาพเริ่มตั้งแต่ GMP, HACCP และการขออนุญาตเลข อย. แต่ผู้บริโภคหลายรายยังชื่นชอบ และให้ความสนใจน้ำผัก น้ำผลไม้คั้นสดๆแช่เย็นที่ดื่มแล้วชื่นใจ เช่น น้ำส้มคั้นสด เพราะดื่มแล้วให้ความรู้สึกสดชื่น แถมร่างกายยังได้รับวิตามินโดยเฉพาะวิตามินซี ที่มีอยู่ในปริมาณสูงเข้าไปเต็มๆ

          การดื่มน้ำส้มสดทุกวันจะช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สดใส สุขภาพดี ท่านที่ชื่นชอบการดื่มน้ำส้มคั้นสด สิ่งที่ต้องระวัง คือ การเลือกซื้อจากร้านค้า หรือผู้ผลิตที่มั่นใจได้ว่ามีการผลิตที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ตั้งแต่วัตถุดิบคือ ส้มต้องเลือกที่ผิวสะอาด นำมาล้างทำความสะอาดเศษดินที่ติดอยู่ให้หมดก่อนคั้นทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อน เช่น เชื้อ อี.โคไล ที่อาจปนเปื้อนมากับผลส้ม และจากผู้ผลิต ผู้ขาย ที่ไม่รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดีอย่างเพียงพอ เช่น เมื่อเข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับผลส้ม น้ำส้มคั้น อุปกรณ์และภาชนะต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตและบรรจุน้ำส้มคั้นสด ไม่ใส่ถุงมือ หรือผ้ากันเปื้อนที่สวมใส่ไม่ทำความสะอาดอยู่เสมอ

          วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำส้มคั้นสดบรรจุขวด 5 ตัวอย่าง จาก 1 ยี่ห้อและ 4 ร้านค้า ที่วางขายในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อน ผลปรากฏว่า พบเชื้อ อี.โคไล ปนเปื้อน ในน้ำส้มคั้นสดบรรจุขวด 3 ตัวอย่าง ตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพ ทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 กำหนดให้ต้องไม่พบเชื้อ อี.โคไล ในน้ำผลไม้ 1 มิลลิลิตร

           เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้วขอย้ำอีกครั้งว่า เลือกซื้อจากร้านค้าที่มั่นใจว่าใช้วัตถุดิบที่สด สะอาดและมีการผลิตที่สะอาด ถูกสุขลักษณะเพื่อความปลอดภัยและสบายท้อง.

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins