สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
แอฟลาทอกซินในกระเทียม

แอฟลาทอกซินในกระเทียม

 

        กระเทียม คนไทยนำมาใช้เป็นทั้งเครื่องเทศในการประกอบอาหาร หรือใช้เป็นสมุนไพรเพื่อรักษาโรค เพราะกระเทียมสามารถป้องกันทั้งโรคหัวใจหลอดเลือด รักษาโรคกลากเกลื้อน บรรเทาอาการคัดจมูก และลดอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อย

 

        แอฟลาทอกซิน สารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus ที่มักพบปนเปื้อนในผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงกระเทียม เชื้อราทั้งสองชนิดเติบโตได้ทุกสถานการณ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาและการขนส่ง จึงทำให้สารพิษแอฟลาทอกซินอาจปนเปื้อนอยู่ในผลิตผลเกษตร และผลิตภัณฑ์ได้

 

        สารพิษชนิดนี้ทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส ความร้อนจากการแปรรูปอาหารทั่วๆไปไม่สามารถทำลายได้ จึงควรป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนตั้งแต่แรก คือ ลดความชื้นของกระเทียมหลังการเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็วด้วยการทำแห้งหรือตากแห้ง อันตรายของสารพิษแอฟลาทอกซิน คือ เป็นสารก่อมะเร็งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ตับ และอาจก่อมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ใหญ่หากได้รับสารพิษชนิดนี้เข้าไปเป็นจำนวนมาก หรือแม้เป็นจำนวนน้อยแต่ได้รับเป็นประจำ อาจเกิดการสะสมจนทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจและสมองบวมได้

 

        วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างกระเทียม จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ที่วางจำหน่ายในตลาดในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์สารพิษแอฟลาทอกซิน ผลปรากฏว่ากระเทียมทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารแอฟลาทอกซิน.

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins