สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สีผสมอาหารในไข่กุ้ง

สีผสมอาหารในไข่กุ้ง

 

      ปัจจุบันทุกย่านการค้า ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สตรีทฟู้ด ล้วนต้องมีร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านซูชิ แทบทุกร้านต้องมีเมนูที่มีไข่กุ้งเป็นส่วนประกอบ เช่น ซูชิหน้าไข่กุ้ง แคลิฟอร์เนียโรล ข้าวหน้าไข่กุ้ง ไข่กุ้งที่ขายในบ้านเรานั้นไม่ได้ทำมาจากไข่กุ้ง ทว่าทำมาจากไข่ของปลาบินที่มีสีส้มแดง หรือไข่ของปลาไข่ที่มีสีส้มซีด ผู้ผลิตหรือผู้ขายบางรายอาจย้อมสีอื่นๆ เพื่อให้ไข่กุ้งดึงดูดใจผู้บริโภค หากย้อมสีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากวาซาบิ สีดำจากหมึกของปลาหมึก ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ ขอให้ระวังอันตรายกันนิด แม้ตามกฎหมายของไทยจะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่หากใช้ปริมาณมากเกินไป หรือเกินที่กฎหมายกำหนดจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบดูดซึมอาหาร ทำลายระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมเป็นระยะเวลานาน อาจทำร้ายตับและไต

 

        สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างไข่กุ้งจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านอาหารญี่ปุ่น ย่านต่างๆในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์สีผสมอาหารสังเคราะห์ 8 ชนิด คือ อโซรูบีน/คาร์โมอีซีน, บริลเลียนท์บลู เอฟซีเอฟ, เออริโธรซิน, ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ, อินดิโกติน, ปองโซ 4 อาร์, ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ และตาร์ตราซีน ผลปรากฏว่า พบการใช้สีปองโซ 4 อาร์ (สีแดง) ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (สีเหลือง) ในตัวอย่างไข่กุ้ง และมีอยู่ 2 ตัวอย่าง ที่พบสีซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ เกินค่ามาตรฐาน ตามมาตรฐานไทยกำหนดให้ใช้สีซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ ในไข่ปลาได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขอแนะว่าทานได้แต่อย่าทานมากเพื่อความปลอดภัยของร่างกาย.

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins