สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ไขมันทรานส์กับโดนัท

ไขมันทรานส์กับโดนัท

 

        โดนัท อาหารว่างที่มีรูตรงกลาง นิยมทานกันได้ทุกเพศทุกวัย มีส่วนประกอบหลักคือ แป้ง เนย น้ำตาลทราย และผงฟู กระบวนการผลิตต้องนำไปทอดในน้ำมันด้วยไฟอ่อน ให้โดนัทมีสีเหลืองทองทั้งสองด้าน อาจเติมแต่งรสชาติด้วยการโรยน้ำตาล ราดซอสชนิดต่างๆ เช่น ช็อกโกแลต สตรอว์เบอร์รี ฯลฯ กรดไขมันทรานส์เป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง เกิดจากการนำน้ำมันพืชไปผ่านกระบวนการเติมไฮโดเจน หรือทำให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันเพื่อทำให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวมากขึ้น ทำให้สามารถเก็บน้ำมันไว้ได้นาน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ไม่เกิดไขง่าย ทนความร้อนสูง ในโดนัทพบกรดไขมันทรานส์ได้จากการใช้เนยหรือไขมันอื่นที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดเจนเป็นส่วนประกอบ หากร่างกายได้รับกรดไขมันทรานส์ปริมาณมากๆจากการทานอาหารจะส่งผลให้มีไขมันไม่ดีในเลือด (LDL-Cholesterol) เพิ่มขึ้น และทำให้ไขมันดีในเลือด (HDL-Cholesterol) ลดลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคอ้วน

        องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้จำกัดการบริโภคกรดไขมันทรานส์ และในแต่ละวันควรบริโภคในปริมาณที่ไม่เกิน 2.2 กรัม สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างโดนัทจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้าในท้องตลาดและร้านเบเกอรีเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันทรานส์ ผลวิเคราะห์พบว่าโดนัท 5 ตัวอย่างมีปริมาณกรดไขมันทรานส์อยู่ในช่วง 0.02-0.06 กรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งน้อยมากๆ วันนี้คนกรุงเทพฯ ทานโดนัทกันได้อย่างสบายใจ แต่ไม่ควรทานปริมาณมากนัก เพราะในโดนัทไม่ได้มีแค่กรดไขมันทรานส์เพียงอย่างเดียว แต่มีไขมันชนิดอื่นๆ เช่น ไขมันอิ่มตัวที่ส่งผลเสียต่อร่างกายอยู่ด้วย ที่สำคัญควรทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ เพื่อความปลอดภัย และร่างกายแข็งแรงในระยะยาว.

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins