สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ไนเทรตและไนไทรต์กับกุนเชียงหมู

ไนเทรตและไนไทรต์กับกุนเชียงหมู

 

        กุนเชียงหมู อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์สัญชาติจีน ที่คนไทยนิยมทานโดยนำมาทำเป็นเมนูต่างๆ เช่น กุนเชียงทอด ยำกุนเชียง ข้าวผัดกุนเชียง ผัดกะเพรากุนเชียง หรือทานเป็นเครื่องเคียง เช่น ข้าวคลุกกะปิ กุนเชียงที่น่าซื้อ ผู้บริโภคมักชื่นชอบต้องมีสีแดงสวยชวนทาน แต่กระบวนการผลิตกุนเชียงจะต้องผ่านการอบแห้งที่ทำให้กุนเชียงมีสีแดงคล้ำ ไม่สวยงาม ผู้ผลิตกุนเชียงจึงนิยมเติมวัตถุเจือปนอาหารกลุ่มไนเทรตและไนไทรต์ เพื่อตรึงสีแดงของกุนเชียงไว้ ไม่ให้คล้ำ และเพื่อช่วยกันเสียทำให้เก็บรักษากุนเชียงไว้ขายได้ยาวนานขึ้นตามกฎหมายไทยอนุญาตให้ใช้สารกลุ่มไนเทรตและไนไทรต์เป็นวัตถุเจือปนอาหารได้เพื่อคงสภาพสีและกันเสีย แต่ให้ใช้ในอาหารตามชนิดที่อนุญาตและในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น เพราะหากผู้บริโภคทานอาหารที่มีไนเทรต หรือไนไทรต์ปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย หมดสติ และเมื่อไนเทรตเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นไนไทรต์ไนไทรต์สามารถเปลี่ยนเป็นไนโตรซามีนสารก่อมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ได้

        สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างกุนเชียงหมู จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้าน ในเขตกรุงเทพฯเพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณไนเทรตและไนไทรต์ ผลวิเคราะห์พบว่าทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบไนไทรต์แต่พบไนเทรตใน 2 ตัวอย่าง ซึ่งปริมาณที่พบยังไม่เกินค่ามาตรฐานตามกฏหมายไทย ที่อนุญาตให้ใช้ไนเทรตสูงสุดได้ไม่เกิน 200 มก./กก. และไนไทรต์สูงสุดได้ไม่เกิน 80 มก./กก. วันนี้ ผู้บริโภคทานกุนเชียงหมูกันได้อย่างปลอดภัย แต่ก่อนซื้อควรอ่านฉลากให้ทราบข้อมูลว่า ใส่วัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กฏหมายอนุญาตหรือไม่ ที่สำคัญควรทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อร่างกายที่แข็งแรง.

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins