ข่าวประชาสัมพันธ์สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สอน. จับมือ สถาบันอาหาร ร่วมผลักดันโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเติบโตยั่งยืน

สอน. จับมือ สถาบันอาหาร ร่วมผลักดันโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเติบโตยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ร่วมกับ สถาบันอาหาร ลงนาม MOU ผนึกกำลัง ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ เพื่อมุ่งเป้าสนับสนุนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ร่วมกับ สถาบันอาหาร จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “เพื่อลดการเผาอ้อยและสร้างอาชีพเสริมชาวไร่อ้อย” โดยมี นายภานุวัฒน์ ตรียางกูรศรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และนางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ร่วมลงนาม พร้อมกันนี้ คณะผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงาน เข้าร่วมพิธีและเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

นายภานุวัฒน์ ตรียางกูรศรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า สอน.มีพันธกิจหลักในการส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทราย อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มีรายได้เพิ่มขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยดูแลระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ และเร่งเดินหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาอ้อยมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในมาตรการทางกฎหมาย ได้มีการออกระเบียบกำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 20% ต่อวัน ภายในปี 2564 และให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายในปี 2566 ซึ่งการเผาอ้อยในฤดูการผลิตปี 2565/2566 คิดเป็นพื้นที่ที่เกิดการลักลอบเผาประมาณ 3.08 ล้านไร่ จากตัวเลขการลักลอบเผาอ้อย 3 ปีฤดูการผลิตที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการในการจัดการกับปัญหาการลักลอบเผาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสดให้กับชาวไร่อ้อยที่ผ่านมายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการจัดการกับปัญหาการลักลอบเผาอ้อยที่เกิดขึ้น และไม่เกิดความคุ้มค่าต่อการดำเนินการดังกล่าว อีกทั้งกระบวนการป้องปรามของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอาจยังไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงได้มีการทบทวนมาตรการและกลไกการบูรณาการที่อาจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สถาบันอาหารเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม

ความร่วมมือระหว่างสถาบันอาหาร กับ สอน. มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในความร่วมมือด้านงานวิชาการ การดำเนินโครงการเพื่อลดการเผาอ้อยและสร้างอาชีพเสริมชาวไร่อ้อย รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ และนำองค์ความรู้ที่ได้จากความร่วมมือต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ต่อไป

สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย สร้างรายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายทั้งในประเทศและส่งออกในปี 2565 ได้กว่า 150,000 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของ GDP ภาคเกษตร สร้างงาน สร้างรายได้แก่ชาวไร่อ้อยมากกว่า 200,000 ราย รวมทั้งแรงงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 1 ล้านคน ตลอดระยะเวลามากกว่า 30 ปี อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพและได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ ทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพการแข็งขันในตลาดโลก โดยประเทศไทยสามารถผลิตและส่งออกน้ำตาลจากอ้อยเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (รองจากบราซิล) สัดส่วนการส่งออกน้ำตาลของไทยคิดเป็นร้อยละ 80 ของปริมาณจำหน่ายน้ำตาลทั้งหมดของไทย สภาพปัญหาที่โลกเผชิญกับจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการปลดปล่อยก็าซเรือนกระจกทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการผลิตและบริการที่เป้นสิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสรางความยั่งยืนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงกลายมาเป็นแรงกดดันต่อผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตาม ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญของการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) ที่มุ่งพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า นำของเสียไปใช้ประโยชน์ ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ในขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ได้ให้ความสำคัญการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจการตามกรอบ ESG (Environment, Social, Governance) โดยการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล สู่ธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อสนองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคแนวใหม่ และประกอบกับการออกกฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศที่ได้ให้ความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหลายบริษัทก็ได้ตั้งเป้า Net Zero

สถาบันอาหารจึงเห็นว่าน่าจะสามารถมีส่วนร่วมศึกษาวิจัยและเสนอแนวทางเพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการจัดการเพื่อร่วมลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการได้

ความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและสถาบันอาหารในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในความร่วมมือด้านงานวิชาการ การดำเนินโครงการเพื่อลดการเผาอ้อยและสร้างอาชีพเสริมชาวไร่อ้อย รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ และนำองค์ความรู้ที่ได้จากความร่วมมือต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ต่อไป

แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins